รายงานเศรษฐกิจรายไตรมาส ฉบับที่ 67/2563 แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ฟื้นตัวแบบ V-Shape, U-Shape หรือ L-Shape บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด 28 ตุลาคม 2563 คงไม่มีใครปฏิเสธถึงความย่ำแย่ของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยใน 2 ไตรมาสที่ผ่านมาอันเป็นเหตุมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 และมีความกังวลต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจในอนาคตว่าจะฟื้นตัวเมื่อใด ที่สำคัญคือเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วจะเป็นการฟื้นตัวแบบ V-Shape, L-Shape หรือ U-Shape[1] เป็นที่แน่นอนว่าทั้งโลกคาดหวังให้การฟื้นตัวเป็นรูปแบบ V-Shape ด้วยสมมุติฐานว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ อีกทั้งมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันและมีประสิทธิผลทำลายเชื้อได้ในประชากรเกิน 70% ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเหมือนก่อนหน้าที่มีโรคระบาด อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวในรูปแบบ V-Shape ยังต้องการสมมุติฐานทางเศรษฐศาสตร์อีก 2 ข้อคือ (1) พฤติกรรมการบริโภคต้องไม่ปรับเปลี่ยน เช่น มีความต้องการออมมากขึ้นเพื่อชดเชยเงินออมที่ใช้ไปช่วงที่มีการแพร่ระบาดและสำรองเพิ่มขึ้นสำหรับวิกฤติที่อาจจะเกิดเมื่อใดก็ได้ในอนาคต และ (2)ผู้บริโภค/ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องพอเพียงที่จะบริโภคและลงทุนเหมือนก่อนเกิดการแพร่ระบาด กล่าวคือระบบธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อในระดับไม่ต่ำกว่าก่อนหน้าที่จะมีการแพร่ระบาด ซึ่งเงื่อนไขทางเศรษฐกิจทั้ง 2 ข้อนี้ไม่มีนักเศรษฐศาสตร์ใดกล่าวถึง ในการประมาณการล่าสุด (เดือนตุลาคม) องค์กรระดับประเทศทั้งหลาย รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับการคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้และปีหน้าสูงขึ้น โดยการฟื้นตัวเป็นรูปแบบ V-Shape กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์ของอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกสำหรับปีคศ. 2020 จาก -5.2 % ในการประมาณการเดือนกรกฎาคม เป็น -4.4 % ก่อนที่จะกลับมาขยายตัวเป็นบวก 5.2% ในปีคศ. 2021 ดังปรากฏในรูปที่ 1 การปรับการประมาณการเศรษฐกิจสูงขึ้นนี้เป็นผลจากที่โลกควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีและมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายนสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า[2] เนื่องจากมีการผ่อนคลายการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 หรือที่เรียกว่า lockdown อีกทั้งรัฐบาลทั่วโลกต่างกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเม็ดเงินรวมกันถึง 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 10 % ของ GDP รูปที่ 1 การประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศหลักของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ผู้วิเคราะห์ยังขาดความมั่นใจในแนวโน้มที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก ด้วยข้อมูลที่องค์กรทั้งหลายใช้ในการพิจารณาการปรับปรุงการคาดการณ์ยังมิได้รับรู้ถึงการระบาดรอบใหม่ของ COVID-19 หลังเดือนกันยายนทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลก ดังปรากฏในรูปที่ 2 จนนำไปสู่การจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Lockdown) อีกครั้ง ซึ่งจะยังผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในปลายไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ไม่เป็นไปตามที่ได้ปรับการประมาณการ ดังนั้น เพื่อที่จะคาดการณ์ผลกระทบของการควบคุมการแพร่ระบาดและการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้แม่นยำ อันจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่ถูกต้อง นักเศรษฐศาสตร์ควรหาความสัมพันธ์สำคัญเชิงปริมาณระหว่างการ lockdown และการขยายตัวของเศรษฐกิจ ตัวอย่างอยู่ในไตรมาสที่ 2 ที่ประเทศในกลุ่ม OECD ประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาด แต่ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบถึง 9.8% การคลายการ lockdown แม้จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่การติดเชื้อรายวันก็เพิ่มสูงกว่าการระบาดในรอบแรกหลายเท่า เป็นดั่งที่นักระบาดวิทยาคาดการณ์ไว้[3] นักระบาดวิทยาบางท่านออกมาวิจารณ์ว่าเป็นการคลาย lockdown ที่เร็วเกินไป[4] รูปที่ 2: การเพิ่มขึ้นรายวันของผู้ติดเชื้อรายใหม่ของประชากรในสหรัฐอเมริกาและประชาคมยุโรป ที่มา: มหาวิทยาลัย John Hopkins รัฐบาลทั้งโลกต่างทราบดีว่าหากไม่มีมาตรการเข้มเหมือนการ lockdown ในการระบาดรอบแรกคงยากที่จะควบคุมการแพร่ระบาดได้ แต่การสูญเสียทางเศรษฐกิจก็สูงเกินกว่าที่จะยอมรับได้เช่นกัน ที่สำคัญคือรัฐบาลทุกรัฐบาลล้วนไม่มีงบประมาณที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนการแพร่ระบาดในรอบแรก ดังนั้น ทั้งโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย จึงตั้งความหวังที่การมีวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน COVID-19 แม้การผลิตวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อ COVID-19 เป็นไปได้ด้วยดีและอาจจะสามารถเริ่มกระจายวัคซีนได้ราวต้นปีหน้า แต่ประสิทธิภาพในการเพิ่มภูมิคุ้มกันจนสามารถต้านทานเชื้อโรคได้ยังต้องรอการพิสูจน์หลังมีการใช้จริง ด้วยวัคซีนต้านโรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดหมูมีประสิทธิผลเพียง 50% การประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยเดียวคือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ไม่ว่าจะระดับใดหรือจากสถาบันใดไม่ควรจะไปคาดเดา ทำให้ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจที่เผยแพร่ของทุกองค์กรล้วนอยู่บนสมมุติฐานของ “What If” ไม่อาจเชื่อถือได้[5][6] ประเทศไทยไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศมาเกือบ 6 เดือนแล้ว อีกทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหลายสามารถกระทำได้เกือบเป็นปกติ แต่เศรษฐกิจไทยยังไม่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเป็นบวกเหมือนเศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวเป็นบวกที่ 3.2% และ 4.9% ในไตรมาสที่ 2 และ 3 หลังจากที่ควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้ว อย่างไรก็ดีเครื่องชี้วัดสำคัญในไตรมาสที่ 3 ล้วนบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน (ตารางที่ 1) ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวของเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจสำคัญ (%)
ก่อนที่จะนำตัวเลขเศรษฐกิจเพียง 2 เดือน มาด่วนสรุปว่าแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดการณ์ในการประมาณการรอบเดือนกันยายนว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 2563 จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย -8.5% ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ที่เศรษฐกิจหดตัว 12.2% ก่อนที่จะขยายตัวเป็น +3.6% ในปี 2564 ควรจะได้พิจารณา 3 ประเด็นสำคัญก่อน กล่าวคือ
เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ผู้วิเคราะห์จะใช้เวลาค่อนข้างมากในการวิเคราะห์เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 เพื่อที่จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการหดตัวอย่างรุนแรงของ GDP เกิดจากปัจจัยชั่วคราว (Transitory Factor) คือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การฟื้นตัวเป็นรูป V-Shape หลังจากที่ปัจจัยชั่วคราวดังกล่าวหมดสิ้น หรือการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 มีปัจจัยพื้นฐานอื่นของเศรษฐกิจไทยร่วมด้วย ทำให้การฟื้นตัวอาจเป็นรูปแบบ U-Shape หรือ L-Shape เพราะแม้ปัจจัยชั่วคราวหายไป ปัจจัยถาวรยังคงอยู่[7] การวิเคราะห์จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 ผลกระทบของการแพร่ระบาดทำให้เศรษฐกิจไทยถดถอยถึง 12.2% ในไตรมาสดังกล่าว ซึ่งเป็นการถดถอยมากที่สุดตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540[8] ส่วนใหญ่จะเชื่อว่าการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เป็นผลจากการขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นเม็ดเงินถึง 1.8 ล้านล้านบาทในปี 2562 หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 12% ของ GDP แต่การวิเคราะห์จาก Contribution to Growth เพื่อหาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจจะได้ข้อสรุปเป็นอื่นตามตารางที่ 2 ตารางที่ 2 การคำนวณ Contribution to Growth (%) ของ GDP ไตรมาสที่ 1 และ 2 2563
ที่มา: คำนวณจากข้อมูลเศรษฐกิจรายไตรมาสของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก่อนจะเข้าสู่การวิเคราะห์ อยากจะชี้ให้เห็นว่าการนำเสนอตัวเลข GDP แบบ Expenditure Approach ของสภาพัฒน์ฯ มีความไม่แม่นยำสูง ทำให้การวิเคราะห์และการนำตัวเลขไปใช้ต่ออาจมีปัญหา โดยที่ค่าความคลาดเคลื่อนของสถิติ (Statistical Discrepancy) ของตัวเลขในไตรมาสที่ 2 นี้มีผลต่อ contribution to growth ถึง 4.5% หากไม่นับรวมความคลาดเคลื่อนของเศรษฐกิจนี้ เศรษฐกิจไทยจะหดตัวเพียง 7.7% ซึ่งขัดแย้งกับตัวเลข GDP แบบ Production Approach ที่ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยหดตัว 12.2%[9] ความคลาดเคลื่อนนี้รุนแรงมากในไตรมาสก่อนหน้า เพราะหากไม่นับรวมค่าคลาดเคลื่อนทางสถิติ เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 จะขยายตัวเป็นบวก 5.7% มิใช่หดตัว 2.0% ซึ่งจะขัดแย้งกับตัวเลขจากด้านการผลิต เนื่องจากในไตรมาสที่ 1 มีการผลิตภายในประเทศและการนำเข้าสินค้าลดลง โดยที่ MPI ลดลง 6.4% และการนำเข้าสินค้าลดลง 15.3% จึงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้บริโภคมีจะมีสินค้าให้บริโภคเพิ่มขึ้นจนทำให้ Private Consumption ขยายตัว 2.8% และมี Contribution to Growth 1.3%[10] ตามที่ปรากฏในตารางที่ 2 อย่างไรก็ดี ผู้วิเคราะห์ไม่มีทางเลือกอื่นที่จะต้องวิเคราะห์ตามตัวเลขของสภาพัฒน์ฯ ตารางที่ 2 แสดงอย่างชัดเจนว่าการหายไปของรายได้จากการท่องเที่ยวแม้จะมีผลกระทบทำให้อัตราการขยายตัวของ GDP ติดลบถึง 20.0% ไม่มีมีผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมมากเพราะถูกชดเชยด้วยการลดลงของการนำเข้าสินค้าและบริการ ทำให้ในเชิงสุทธิแล้วภาคการส่งออกสุทธิ (Net Exports) มีผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวเพียง 0.4% รายได้ที่หายไปจาก COVID-19 ที่สำคัญคือรายได้ที่หายไปจากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 3.4 แสนล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ถูกชดเชยเกือบหมดด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่มีการกระจายเม็ดเงินจำนวน 3.3 แสนล้านบาทในไตรมาสเดียวกัน การหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้จึงเกิดจาก
ปัจจัยอื่นคือ? การแยกปัจจัยถาวรและปัจจัยชั่วคราวจากการแพร่ระบาด ประเด็นที่ควรวิเคราะห์ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการหดตัวอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 คือพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งแม้แต่ก่อนมีการแพร่ระบาดเศรษฐกิจไทยก็ได้ชะลอตัวมาระยะหนึ่งแล้วจนมีอัตราการเติบโตเป็นลบในไตรมาสที่ 1 ปัจจัยที่จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือหนี้สินภาคครัวเรือน (Household Debt) ที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียรองจากประเทศเกาหลีใต้ และสูงที่สุดในโลกสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่อหัวในระดับเดียวกัน ตารางที่ 3 GDP, หนี้ภาคครัวเรือน, หนี้ภาครัฐ, และรายได้จากการท่องเที่ยว พันล้านบาท (ยกเว้น Growth Rate เป็นเปอร์เซ็นต์)
หมายเหตุ 1. เป็นมูลค่าเฉลี่ยของแต่ละช่วงเวลา ยกเว้นรายไตรมาสของปี 2020 2. Government Debt นับเฉพาะในส่วน Deficit Financing Bond 3. ตัวเลขในวงเล็บของ Household Debt คือ Debt/GDP (%) 4. * คาดว่าตัวเลขการเพิ่มขึ้นของ Household Debt ใน 2020 Q1 เกือบทั้งหมดมิได้เป็นการปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมจริง แต่เกิดจากการพักชำระหนี้ที่สถาบันการเงินจะนับเงินต้นและดอกเบี้ยค้างชำระเป็นมูลหนี้เพิ่ม 5. ไม่มีตัวเลข Foreign Tourism Income ก่อนปี 2011 แต่ตัวเลขไม่น่าจะสูง ตารางที่ 3 ให้ข้อสรุปดังนี้
เมื่อเศรษฐกิจไทยพึ่งพาหนี้สินภาครัฐและภาคครัวเรือนเป็นหลักในการผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงอาจสรุปได้ไม่ยากว่าเศรษฐกิจไทยจะชะงักเมื่อการขยายตัวของหนี้สินดังกล่าวชะลอตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในไตรมาสที่ 1 ที่สถาบันการเงินชะลอการปล่อยสินเชื่อภาคครัวเรือนจากที่เคยปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมไตรมาสละ 1.5 แสนล้านบาท เหลือเพียง 1.2 หมื่นล้านบาทในไตรมาสดังกล่าว เนื่องจากกังวลถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้บริโภค ทำให้อัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสดังกล่าวติดลบทันที แต่นักเศรษฐศาสตร์ทุกสำนัก รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ล้วนโทษการหดตัวของ GDP ว่ามาจากการลดลงของส่งออกที่ขยายตัว -7.3% อันเป็นผลจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา แต่ถ้าย้อนกลับไปดูตารางที่ 2 แล้วจะพบว่าข้อเท็จจริงเป็นตรงข้าม ด้วย Net Exports มีผลทำให้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.4% เพราะแม้การส่งออกจะลดลงจริง แต่การนำเข้าลดลงเร็วกว่า ซึ่งในมุมของผู้วิเคราะห์ การลดลงของการนำเข้าสะท้อนความต้องการบริโภคในประเทศที่ลดลงเนื่องจากไม่สามารถกู้ยืมเพิ่มเติมมาบริโภคได้ ในไตรมาสที่ 2 ปัจจัยพื้นฐานเชิงลบเหล่านี้ล้วนตามกระทบอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ กอรปกับมีปัจจัยสำคัญเพิ่มขึ้นมาคือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดผลลบ 2 ประการ
ตารางที่ 4 การคำนวณหาผลกระทบต่อ GDP ในไตรมาสที่ 2-4 ปี 2563 พันล้านบาท
หมายเหตุ:
ตารางที่ 4 เป็นการคำนวณจากข้อมูลจริงเพียงไตรมาสเดียวคือไตรมาสที่ 2 ความแม่นยำของตัวเลขในไตรมาสที่ 3 และ 4 ขึ้นอยู่กับตัวเลขการประมาณอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในครึ่งของปี 2563 อย่างไรก็ดีตารางดังกล่าวให้ข้อสรุปดังนี้ - รายได้ที่หายไปจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในไตรมาสที่ 2 ถูกชดเชยเกือบหมดโดยมาตรการช่วยเหลือของรัฐและมาตรการการหยุดผ่อนชำระหนี้ (Loan Payment Holidays) ของธนาคารแห่งประเทศไทยและการปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน - สาเหตุของการหดตัวอย่างรุนแรงในไตรมาสที่ 2 มาจาก
ไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประมาณการแล้วว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปีจะอยู่ที่ -8.5% ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ -7.8% ผู้วิเคราะห์ไม่มีตัวเลขใดจะมาโต้แย้งการประมาณการของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะไตรมาสที่ 3 ที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจดีขึ้นทุกตัวเลข และอาจมีโอกาสที่จะขยายตัวติดลบลดลงเหลือต่ำกว่า 5% อันเป็นเหตุมาจาก - การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากการชะลอตัวของการแพร่ระบาดในช่วงไตรมาสที่ 2 ทำให้ให้มีการผ่อนคลาย lockdown และเกิด pent-up demand รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทำให้การบริโภคฟื้นคืนเร็วเกินคาดหมาย โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่มีอัตราการขยายตัว 3.2% และ 4.9% ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ทำให้การส่งออกของไทยปรับตัวดีขึ้นมาก - การผลิตก็ดีขึ้นเช่นกัน โดย MPI ในเดือนสิงหาคมขยายตัว -9.3% เทียบกับอัตราการขยายตัวติดลบเฉลี่ยที่ 20% ในไตรมาสที่ 2 หลังจากการชะลอตัวเกินจำเป็นจาก Panic Factor ในไตรมาสที่ 2 จนต้องนำสินค้าคงคลังออกมาจำหน่ายจำนวนมาก ในไตรมาสที่ 3 จึงมีการเพิ่มการผลิตชดเชย - ปัจจัยที่ยังน่ากังวลในไตรมาสนี้คือความสามารถในการบริโภคเนื่องจากสถาบันการเงินยังไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติม แม้ว่ามาตรการการพักชำระหนี้ยังมีผลบังคับใช้และทำให้เกิดรายได้เทียมราว 3 แสนล้านบาท แต่การบริโภคยังอ่อนตัวอยู่ โดยเฉพาะในหมวด Semi-Durable goods ไตรมาสที่ 4 เป็นไตรมาสที่น่ากังวลเนื่องจาก - การแพร่ระบาดรอบที่ 2 ในประชาคมยุโรปและสหรัฐอเมริกาอาจมีผลต่อการส่งออกสินค้าของไทย - ผู้ประกอบการหมดเงินทุนเนื่องจากมีการลดลงของการบริโภคเป็นระยะเวลายาวนานและสถาบันการเงินไม่ขยายสินเชื่อ ทำให้หมดเงินทุนในการประกอบกิจการจนต้องปิดกิจการและปลด/ลดแรงงาน - ผู้บริโภคหมดเงินทุนคล้ายผู้ประกอบการเนื่องจากไม่มีเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจมาเพิ่มรายได้เหมือนไตรมาสที่ 2 อีกทั้งได้รับผลกระทบจากการปลด/ลดแรงงานจากภาคธุรกิจ ทำให้อาจต้องลดการบริโภคอีกรอบหนึ่ง เศรษฐกิจไทยอยู่ได้ด้วยหนี้มานานกว่าทศวรรษ หากจะให้เศรษฐกิจไทยขายตัวเป็นบวกต่อเนื่อง จะต้องมีการขยายสินเชื่อเพื่อการบริโภคอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เพราะความสามารถในการชำระเต็มที่แล้ว การชะลอการปล่อยสินเชื่อจึงได้เกิดในไตรมาสแรกก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สถานการณ์แย่ลงทั้งด้านการขยายสินเชื่อของสถาบันการเงินและรายได้หลักของประเทศจากการท่องเที่ยว ที่สำคัญคือเกิดปัจจัยชั่วคราว (Outbreak Effects) ที่กระทบต่อการบริโภคและลงทุนเกือบ 7 แสนล้านบาทต่อไตรมาสหรือราว 17% ของ GDP หากมีการระบาดรอบ 2 และจำเป็นต้องออกมาตรการ lockdown ผลกระทบทางเศรษฐกิจก็จะสูงเช่นนี้ หลังจากที่การแพร่ระบาดในประเทศสิ้นสุดแล้ว แต่เศรษฐกิจจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่จากปัจจัยถาวรคือปัญหาสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ทับถมมาเป็นเวลานาน การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการพักชำระหนี้ (Loan Payment Holidays) ที่มีผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวรวมกับการปรับโครงสร้างหนี้โดยตรงกับสถาบันการเงิน จำนวน12.5 ล้านราย คิดเป็นมูลหนี้ 6.89 ล้านล้านบาทหรือ 27% ของมูลหนี้ทั้งหมด จะทำให้ไม่มีการขยายสินเชื่ออีกเป็นเวลานาน ด้วยสถาบันการเงินจะกังวลต่อความพอเพียงของเงินกองทุน (Capital Adequacy) ในกรณีที่ผู้ของพักชำระหนี้ไม่สามารถกลับมาชำระหนี้เป็นปกติได้และการเป็นหนี้เสีย หากดูตัวอย่างจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นหลัง Financial Crisis ปี 1990 ที่สถาบันการเงินญี่ปุ่นตกอยู่ในฐานะเดียวกันกับสถาบันการเงินไทยในปัจจุบัน ทำให้เกิด Credit Crunch ทั้ง ๆ ที่ธนาคารชาติญี่ปุ่นปล่อยสภาพคล่องเหลือเฟือเข้าระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การเกิด Credit Crunch นี้นำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเป็นเวลานานจนได้รับการขนานนามว่า Lost Decade สรุป เศรษฐกิจไทยเมื่อฟื้นตัว จะเป็นการฟื้นตัวแบบ U-Shape ไม่มีโอกาสที่จะฟื้นตัวในรูปแบบตัว V เหมือนเศรษฐกิจประเทศอื่น จากปัจจัยถาวรของการพึ่งพาการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการบริโภค ดังนั้นหากต้องการให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบ V-Shape รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องแก้ปัญหา Household Debt อย่างถาวร มิใช้การเลื่อนการชำระหนี้ชั่วคราวที่เป็นผลลบในภาพรวมมากกว่าผลดี
หมายเหตุ : รายงานเศรษฐกิจฉบับนี้เป็นรายงานที่บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อกลุ่มทีซีซีเป็นรายไตรมาส
บริษัท ไทยวิจัยและฝึกอบรม จำกัด [1] การฟื้นตัวแบบ V-Shape คือการฟื้นตัวแบบทันที โดยที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกในระดับที่สูงจนสามารถหรือเกือบสามารถชดเชยการหดตัวของเศรษฐกิจในปีก่อนหน้า การฟื้นตัวแบบ U-Shape เป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้ระยะเวลานาน เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังวิกฤติการเงินปี 1990 ที่ใช้เวลากว่า 10 ปีที่จะฟื้นตัว จนได้รับการขนานนามว่า Lost Decade ส่วนการฟื้นตัวแบบ L-Shape คือไม่มีการฟื้นตัวเลย เศรษฐกิจจะไม่ขยายตัวอีกเป็นระยะเวลานาน [2] จากรูปที่ 1 จะเห็นว่าช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม เป็นช่วงที่มีการระบาดของเชื้อ COVID-19 ต่ำที่สุด และลดลงเป็นอย่างมากจากช่วงแพร่ระบาดก่อนหน้า ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการบริโภคเพิ่มสูงกว่าประมาณการ [3] การระบาดรอบที่ 2 ยังไม่เสร็จสิ้น จากสถิติของการระบาดของ Spanish Flu ในปี 1918 มีการเสียชีวิตในการระบาดรอบที่ 2 สูงกว่ารอบแรกถึง 4.5 เท่า [4] ตัวเลขการติดเชื้อรายวันของ COVID-19 ของประชากรทั้งโลก ณ วันที่ 23 พฤษภาคมอยู่ที่ 100,092 คนต่อวัน เพิ่มเป็น 317,752 คนต่อวัน ณ วันที่ 23 กันยายน และเพิ่มเป็น 490,737 คนต่อวัน ณ วันที่ 23 ตุลาคม หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงที่ IMF และองค์กรอื่นของโลกใช้เป็นฐานในการประมาณการเศรษฐกิจ [5] การประมาณการของนักเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันอาจนำเอา quote ของ John Maynard Keynes ที่กล่าวว่า “If economists could manage to get themselves thought of as humble, competent people on a level with dentists, that would be splendid.” ด้วยนักเศรษฐศาสตร์มักตั้งสมมุติฐานสำคัญที่ตนเองไม่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อโรค ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการประมาณเศรษฐกิจสำหรับปี 2564 ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประมาณการว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.6% โดยนักท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาในไตรมาสที่ 3 และมีนักท่องเที่ยวรวม 9 ล้านคน ดังนั้นในเวลาที่ External Factor ไม่มีทฤษฎีรองรับทางเศรษฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ควรจะจัดทำการประมาณการในรูปแบบ Scenario ดีกว่าที่จะทำให้สังคมเข้าใจผิดถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจ [6] จากการที่กำลังเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 ในหลายภูมิภาคทั่วโลก อาจทำให้เกิดเกิดทฤษฎีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า W-Shape [7] การฟื้นตัวจะเป็นรูปแบบ U-Shape เมื่อปัจจัยลบถาวรยังคงอยู่แต่ไม่เลวร้ายเพิ่มขึ้น การฟื้นตัวจะเป็น L-Shape เกิดขึ้นเมื่อปัจจัยถาวรเลวร้ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจเข้าสู่ Vicious Cycle ดังเช่นประเทศ Venezuela [8] ไตรมาสที่ 2 ของปี 2541 GDP มีอัตราการขยายตัวติดลบ 12.5% [9] การยึด GDP แบบ Production Approach เป็นหลัก และตัวเลขที่แตกต่างระหว่าง 2 approach ให้เป็นค่าความคลาดเคลื่อนทางสถิติ เป็นไปตามมาตฐานของ System of National Accounts, United Nations [10] มีความเป็นไปได้สูงที่การบริโภคภาคเอกชนมีอัตราขยายตัวติดลบในไตรมาสที่ 1 ผู้วิเคราะห์ได้ลอง simulate ตัวเลขและพบว่าการบริโภคภาคเอกชนนี้ติดลบถึง 15.9% ในไตรมาสดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขการนำเข้า การผลิต และการขยายตัวของสินเชื่อ บ่งชี้ถึงปัญหาที่รุนแรงของเศรษฐกิจไทยก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
มาแนะนำตัวบริษัท และ ทีมงาน | ||
![]() |
||
มาแนะนำตัวค่ะ |
||
View All ![]() |
<< | ตุลาคม 2020 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |