สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ขณะนี้สังคมไทยกำลังถกเถียงกันว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับเรื่องราวที่มีบุคคลยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่ สมาชิกรัฐสภาเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือไม่ เพียงใด ? หรือต้องรอให้อัยการสูงสุดสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพียงฝ่ายเดียว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 68 เป็นบทบัญญัติในส่วนที่ 13 ว่าด้วยสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ สิทธิดังกล่าวจึงเป็นสิทธิของพลเมืองไทยทั่วๆไป ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ผู้ทราบการกระทำมีสิทธิในการเสนอเรื่องราวให้อัยการสูงสุดสอบข้อเท็จจริง และมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว ประเด็นที่ว่าใครมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ควรตีความกีดกันสิทธิของพลเมืองเพื่อทำหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ การที่มีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ จึงชอบที่ศาลรัฐธรรมจะพึงรับไว้และวินิจฉัยสั่งการตามรัฐธรรมนูญต่อไป ส่วนข้อถกเถียงว่า คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญ ที่สั่งให้รัฐสภาระงับการทำหน้าที่ในการพิจารณาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระสามนั้น ทำได้หรือไม่ เพียงใด ประเด็นนี้ ต้องดูรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 216 วรรคสอง บัญญัติว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนต้องทำความเห็นในการวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ และ วรรคสาม บัญญัติว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และความเห็นในการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคน ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ส่วน วรรคสี่ บัญญัติว่า คำวินิจฉัยฯ อย่างน้อยต้องประกอบด้วย คำกล่าวหา สรุปข้อเท็จจริงที่ได้พิจารณา เหตุผลในการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง และวรรคห้า บัญญัติว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ฉะนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาสาระของคำร้องที่มีผู้ยื่นตาม มาตรา 68 ทั้งมิได้วินิจฉัยให้เป็นไปตามลำดับ กล่าวคือต้องมีคำวินิจฉัยส่วนตนขององค์คณะแต่ละคน อย่างน้อยต้องมีสรุปข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย เหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้าง และยังไม่ได้นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำวินิจฉัยตามความหมายในรัฐธรรมนูญ คำสั่งชั่วคราวจึงมิใช่คำวินิจฉัยที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ,ศาลรัฐธรรมนูญหาอาจออกคำสั่งชั่วคราวได้ไม่ หากออกไปก็ไม่มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ กล่าวโดยสรุป ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรตีความข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้งของผู้ใช้รัฐธรรมนูญ จึงเป็นองค์กรที่ศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจเด็ดขาด ฉะนั้นในระหว่างพิจารณาไม่ควรใช้อำนาจชั่วคราว(สั่งคุ้มครองชั่วคราว) ซึ่งหากผลคำวินิจฉัยอันเป็นที่สุดให้ยกคำร้อง จะเป็นข้อครหาได้ว่า ใช้เทคนิคเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายใดๆ ซึ่งจะเป็นจริงหรือไม่ ไม่เป็นผลดีต่อความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญเป็นแน่แท้ ศาลรัฐธรรมนูญ คือผู้ชี้ขาดข้อขัดแย้งในการใช้รัฐธรรมนูญ ควร ฟันธง ลงไปเลยว่า การที่สมาชิกรัฐสภาขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฯ เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองฯ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือไม่? หากใช่ ต่อไปนี้รัฐธรรมนูญจะได้อยู่ยงคงกระพัน โดยไม่มีใครเสนอแก้ไขเพิ่มเติมอีกต่อไป เนื่องจากพรรคการเมืองใดกระทำต้องถูกยุบพรรค เราจะได้มีรัฐธรรมนูญที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามผู้ใดแตะต้องอีกต่อไปเสียที หากมิใช่ รัฐสภาจะได้ทำหน้าที่ต่อไป มิควรปล่อยให้ข้อขัดแย้งในการใช้รัฐธรรมนูญเป็นประเด็นทางการเมือง และหากสังคมขัดแย้งกันมากขึ้น มีความสับสนวุ่นวายจนมิอาจควบคุมได้ เกรงว่าจะมีคณะรัฐประหารมาฉีกรัฐธรรมนูญ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 มิอาจใช้ได้ แต่ต้องไปใช้มาตรา 69 คือ บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ประชาชนมีสิทธิออกมาประท้วงบนท้องถนน ผู้คนอาจถอนเงินในบัญชีธนาคาร ชาวบ้านจะไม่ไปขายของในตลาด พระสงฆ์งดรับกิจนิมนต์ ครูหยุดสอนหนังสือ ตำรวจชลอการจับผู้ร้าย ทนายขอเลื่อนคดี ฯลฯ ซึ่งผู้เขียนไม่อยากเห็นประเทศไทยตกอยู่ในสภาพดังกล่าว. ------------------------------------------------------------------------- ธัญศักดิ์ ณ นคร ทนายความอิสระ http://www.facebook.com/thanyasak.nanakhon |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มิถุนายน 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |