*/
<< | สิงหาคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
พระนอนมีหัวใจ บทความ
พร้อมภาพถ่ายสะสม โดย อ.เจริญ ตันมหาพราน นักประวัติศาสตร์ชุมชน และนักเขียน พระนอน หรือ พระพุทธไสยาสน์
เป็นพระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนเคารพสักการะมากที่สุดอีกปางหนึ่ง จึงมีการสร้างพระนอนขนาดใหญ่ไว้ตามวัดต่างๆ
ทั่วประเทศ แต่บางแห่งก็มีคติความเชื่อแตกต่างออกไป เช่น พระนอนมีหัวใจองค์นี้
ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดบางพลีใหญ่ ในท้องที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ซึ่งนอกเหนือจะมีขนาดใหญ่แล้ว ยังมีการออกแบบอาคารภายในองค์พระให้เกิดใช้สอยประโยชน์ได้หลากหลายอย่างน่าทึ่ง พระนอนเป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอังคาร วัดบางพลีใหญ่กลางเป็นวัดเก่าสร้างมานาน
แต่ไม่ปรากฏหลักฐานใครเป็นผู้สร้าง จากการสันนิษฐานอายุคงไม่ต่ำร้อยปีขึ้นไป
เพราะมีพระอุโบสถเก่าหลังหนึ่งที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๗๒ มีหลวงพ่อโต
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ทุกคนรู้จัก
และยังมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่น่าสนใจ แปลกกว่าพระพุทธรูปอื่นๆ
ตรงที่เป็นพระพุทธรูปที่มีหัวใจ พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา
พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกายพระกัจฉะ(รักแร้)
ทับบนพระเขนย(หมอน) อุ้งพระหัตถ์ขวาขึ้นประคองพระเศียรให้ตั้งขึ้น
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำวันของผู้ที่เกิดในวันอังคาร พระนอนมีหัวใจองค์นี้
ประดิษฐานอยู่ในวัดบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เหตุของการสร้างพระนอนในวัดนี้ เกิดขึ้นเมื่อประมาณยี่สิบปีที่แล้ว ท่านเจ้าคุณอรรถโกวิทคุณ(หลวงปู่กิ่ม) เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการได้ส่งพระใบฎีกาจำนงค์ สุเมโธ เข้ารับการอบรมหน่วยพัฒนาทางจิตมูลนิธิพระอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย ที่จิตภาวัน จังหวัดชลบุรี ขณะที่ได้รับการอบรมอยู่ที่จิตภาวันนั้น พระใบฎีกาจำนงค์ได้เห็นการก่อสร้างของจิตภาวันใหญ่โตมีสง่าราศี สามารถโน้มน้าวจิตใจสาธุชนให้มาเข้าวัดได้ ด้วยเหตุนี้ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ พระใบฎีกาจำนงค์ได้มีความคิดที่จะสร้างถาวรวัตถุขึ้น เพื่อใช้เป็นสิ่งจูงใจบุคคลทั่วไปให้หันหน้าเข้าวัด นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมแก่สาธุชนอีกด้วย หลังจากท่านมีความคิดริเริ่มก็ได้เที่ยวจาริกไปดูโบราณสถานที่เกี่ยวกับพุทธ ศาสนาทั่วประเทศ แม้ในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย ก็เคยได้ไปดูมาแล้ว ในที่สุดพระใบฎีกาจำนงค์มีความเห็นว่าถาวรวัตถุนั้น ควรเป็นพระสีหไสยาสน์ เช่น พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง, พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์(วัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร)กรุงเทพฯ ที่สร้างกันมาแต่โบราณ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการสร้างอีกเลย ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง พระใบฎีกาจำนงค์ต้องการให้วัตถุชิ้นนี้ใช้สอยประโยชน์ได้หลายอย่าง จึงออกแบบภายในองค์พระเป็นห้องปฏิบัติกัมมัฏฐานได้อีกด้วย แต่การสร้างพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก
เมื่อขาดปัจจัยเป็นที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน
พระใบฎีกาจึงค้นหาวิธีด้วยการสร้างพระอรหันต์จำนวน ๕๐๐ องค์
เพื่อให้ญาติโยมพุทธบริษัทได้เข้าวัดทำบุญ
โดยสร้างพระอรหันต์อุทิศให้แก่ญาติโยมที่ล่วงลับไปแล้ว
แทนการสร้างพระเจดีย์ดังแต่ก่อน วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่ง ปัจจัยที่ได้จากการสร้างพระอรหันต์ได้นำมาเป็นทุนในการสร้างพระพุทธไสยาสน์
นอกเหนือจากการบริจาคโดยทั่วไปของผู้มีจิตศรัทธา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๑ มีการติดต่อผู้รับเหมาก่อสร้าง
พร้อมทั้งอัญเชิญสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระพุทธไสยาสน์
การก่อสร้างดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีและใช้เวลานาน
เนื่องจากมีอุปสรรคหลายอย่างในการก่อสร้างเป็นต้นว่าผู้รับเหมามักปล่อยงาน
ให้ล่าช้าหรือไม่ทำงานไม่ทันตามสัญญา ในที่สุดก็ทิ้งงานหนีหายไป
จนเป็นเหตุให้เสียเวลาหาช่างใหม่เข้ามาทำ การบรรจุพระปัปผาสะ
(ปอด)และพระยกนะ (ตับ) รวมทั้งพระหทัย (หัวใจ) สีทองเหลืองอร่าม
เช่นประเพณีการสร้างพระพุทธรูปของพุทธศาสนิกชนภาคเหนือ ภายในองค์พระพุทธไสยาสน์แบ่งออกเป็น ๔ ชั้นด้วยกัน คือ ชั้นแรก มีห้องปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ๒๘ ห้องเรียงรายเป็นแถวยาว
บรรยากาศสงบเงียบ มีทางเดินบันไดขึ้นชั้นสอง ปูลาดด้วยหินอ่อนสีขาวนวล
มีรูปพระอุปัชฌาย์หลวงปู่กิ่มและรูปพระอริยสงฆ์ ชั้นสอง เป็นห้องโถงกว้างใช้ฝึกกัมมัฏฐาน ชั้นสาม
มีภาพเขียนแสดงเรื่องราวพุทธประวัติประเภทชาดกและยังแบ่งเป็นห้องนรก สวรรค์
รวมทั้งภาพเขียนเรื่องบาป-บุญกุศล
เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้พึงสังวรณ์ไว้ให้สร้างแต่
กรรมดี ภาพต่างๆ มากมายที่เขียนขึ้นภายในอาคารพุทธไสยาสน์นั้น ล้วนเป็นฝีมือของอาจารย์วัจฉละ
สาเงิน ครูศิลปะจากโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
ซึ่งเข้ามาอุทิศแรงกายแรงใจคิดค้นด้านศิลปะ โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ชั้นสี่ เป็นชั้นสุดท้าย
อีกทั้งเป็นส่วนที่สำคัญของอาคารพุทธไสยาสน์ เพราะมีการบรรจุพระปัปผาสะ
(ปอด)และพระยกนะ (ตับ) รวมทั้งพระหทัย (หัวใจ) สีทองเหลืองอร่าม
ดังเช่นประเพณีการสร้างพระพุทธรูปของพุทธศาสนิกชนภาคเหนือ สิ่งที่จะขาดเสียมิได้
คือ การบรรจุหัวใจที่เปรียบเสมือนพุทธคุณขนานแท้
ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับคนจะต้องมีหัวใจถึงจะมีชีวิตเคลื่อนไหวได้
บุคคลใดที่ไม่มีหัวใจย่อมไม่มีความสำนึกในบาปบุญคุณโทษ ภาพจิตรกรรมภายในอาคารพุทธไสยาสน์ ฝีมือของอาจารย์วัจฉละ สาเงิน ครูศิลปะจากโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |