*/
<< | มกราคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
ไอเดีย สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไม่จำกัด และทุกทิศทุกทาง แต่ถ้าประเทศเรา ขาดแคลนวิศวกร ผู้รังสรรค์ ผู้คิดค้นอะไรใหม่ๆ ก็นับเป็นเรื่องน่าเสียดาย ของประเทศไทย เกี่ยวกับโอกาส เพราะในนานาประเทศ เค้าสร้างมูลค่าเพิ่มกัน ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมูลค่าเพิ่มจากความคิดสร้างสรรค์ มันประเมินไม่ได้เลยจริงๆ ....ผู้เผยแพร่ คิดว่า มันเป็นมูลค่าเพิ่มที่สูงจริงๆ น่ะครับ
วิศวกรสร้างสรรค์ ขาดแคลนแสนกันดาร เครดิตภาพ http://board.atcomink.com/photo/4820664459.gif
เข้าสู่บทความที่ผมคัดลอกมาอีกทีครับ เครดิต http://www.sujitwongthes.com มติชนรายวัน ฉบับประจำวันพุธที่ 16 มกราคม 2556 และ Ed Anajak Luckchai (ชื่อ บน FACEBOOK) ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ครับ อ้างอิง ข้อมูล มติชนรายวัน ฉบับประจำวันพุธที่ 16 มกราคม 2556
วิศวกรสร้างสรรค์ ขาดแคลนแสนกันดาร
พลังสร้างสรรค์เกือบทุกอย่างหรือทั้งหมดอยู่นอกห้องเรียน ในห้องเรียนมีไม่มาก หรือไม่มีเลย
ฉะนั้น จะผลิตวิศวกรสร้างสรรค์สำเร็จ ต้องแสวงหาพลังจากนอกห้องเรียนที่ไม่ถูกครอบงำโดยจารีตนิยม “ขณะนี้ประเทศไทยขาดแคลนวิศวกรแนวคิดสร้างสรรค์อย่างมาก เพราะวิศวกรที่สถาบันอุดมศึกษาไทยผลิตออกมาปีละเกือบ 1 แสนคน มีไม่ถึงเปอร์เซ็นต์ที่เป็นวิศวกรแนวคิดสร้างสรรค์”
เครดิตภาพ Future Cape Town & Smart Growth Thailand
รศ.ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวต่อไปว่าส่วนใหญ่เป็นวิศวกรแรงงานจบออกมาแล้วทำงานเลย แถมไม่ได้ทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โอกาสในการทำงานวิจัยน้อย ทั้งที่ในอนาคตยุคของการแข่งขัน การแลกเปลี่ยน เคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี “บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ที่สามารถแข่งขันได้ ไม่ตกงาน ต้องเป็นวิศวกรแนวคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ เช่น ผลิตโทรศัพท์มือถือให้เล็กลง ทำโทรทัศน์ให้บางลง คิดสิ่งประดิษฐ์เพื่อนำมาใช้ผ่าตัดหัวใจได้ง่ายขึ้น เป็นต้น”
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. จึงพยายามผลิตวิศวกรแนวคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งเปิดสาขาที่เป็นความต้องการของในอนาคต (คม ชัด ลึก ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556
แหล่งพลังสร้างสรรค์นอกห้องเรียน ผมเคยเขียนบอกมาก่อนแล้ว ว่าอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานทางวัฒนธรรมในไทยซึ่งเป็นที่รับรู้ทั่วไปว่ามีหลากหลาย เช่น มิวเซียม, ห้องสมุด, หอศิลป์, โรงมหรสพ (โรงหนัง, โรงละคร, โรงดนตรี, โรงลิเก, ฯลฯ), เป็นต้น ล้วนมีคุณสมบัติเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวพร้อมกันในตัวเอง เฉพาะที่มีคุณสมบัติเป็นแหล่งเรียนรู้ ล้วนมีพลังสูง จูงใจให้คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้ แล้วสั่งสมพลังความคิดสร้างสรรค์ เข้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้
แหล่งพลังสร้างสรรค์นอกห้องเรียน (หมายเหตุ :: ผู้เผยพร่...มีมากมายมหาศาล กว่าตัวอย่างที่ยกมาครับ) เครดิตภาพ จากอินเตอร์เน็ต http://nongsukjai.files.wordpress.com/2012/09/thai-entertain-activit.png
ปัญหาอยู่ที่โครงสร้างฯอย่างนี้ในไทยมีไม่พอ ส่วนที่มีก็มีคุณภาพและศักยภาพไม่พอ คนส่วนมากเข้าถึงยากลำบาก บางทีไม่มีโอกาสเข้าถึงเลย
สาเหตุจากสังคมไทยพิทักษ์จารีตนิยมสุดโต่ง จึงเคร่งครัดลักษณะเจ้าขุนมูลนาย แม้ภายนอกดูทันสมัย แต่ภายในไม่พัฒนา โครงสร้างฯที่ไทยมีอยู่(อย่างจำกัด)จึงไม่มีชีวิตชีวา และไม่น่าเข้าใกล้
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นที่รับรู้ทั่วโลกว่าจะเกิดขึ้นแล้วเติบโตได้ ต้องถึงพร้อมด้วยปัจจัยสนับสนุนหลายอย่างให้ “รู้เขา รู้เรา รู้เท่าทันโลกและชีวิต” ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานทางวัฒนธรรมด้วย ที่สำคัญคือต้องใจกว้าง เป็นสังคมเปิดที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทั้งในความคิดและพฤติกรรมที่ไม่เบียดเบียนคนอื่น
เครดิตภาพ http://www.nep.go.th/upload/modWhatsnew/small_tn-233-102.jpg
ความคิดสร้างสรรค์ มีผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่าจะมีได้ก็ด้วยการสั่งสมข้อมูลและประสบการณ์ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด หรือบอกจำนวนไม่ได้
แต่ต้องการข้อมูลความรู้มากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะเรื่องราวต่อหน้า หากหมายถึงประวัติความเป็นมาของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งจะเป็นพลังผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ปัญหาอยู่ที่พลังจารีตนิยมในไทย เป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งสร้างสรรค์ที่ยกมานี้
และระบบการศึกษาไทยเน้นแยกส่วน เลยทำให้สายวิทยาศาสตร์และสายอาชีพไม่แลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งพลังสร้างสรรค์จากสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
แต่แล้วมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถูกครอบงำอย่างแข็งแรงและมิดชิดโดยพลังจารีตนิยม เลยหาพลังสร้างสรรค์ยากยิ่งในการผลิตวิศวกรสร้างสรรค์ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |