*/
<< | กุมภาพันธ์ 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
เกริ่นนำ จากผู้เผยแพร่ข้อมูลครับ (ชมวิวทิวทัศน์-Rattanakosin)
วันนี้มีบทความเช่นเคย ที่ อ.ฉันทฤทธิ์ วิโรจน์ศิริ สถาปนิก และนักผังเมืองอาวุโส ได้โพสต์ลงบนอัลบั้มใน Facebook ผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ เพราะข้อมูลเช่นนี้ มีไม่มากที่จะเผยแพร่สู่สาธารณชน อย่างที่รู้กันอยู่ครับ
อ้างอิงลิ้งก์อัลบั้มภาพทั้งหมด 5 ภาพ ใช้อธิบายในบทความนี้ครับ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.318329288282761.75895.100003170779894&type=1
หมายเหตุ ภาพอธิบายส่วนใหญ่ จะเป็นภาพแผนที่ และภาพวาดตัวอย่างถนนในลักษณะต่างๆ ท่านที่สนใจ พยายามอ่าน และทำความเข้าใจกันครับ เพื่อเป็นข้อคิด หรือเป็นแนวทาง ที่อาจจะเป็นไปได้ เพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา ในอนาคตครับ – ผู้เผยแพร่ (ชมวิวทิวทัศน์-Rattanakosin)
เข้าสู่บทความในอัลบั้ม ส่วนภาพประกอบในอัลบั้ม พร้อมคำอธิบายภาพ จะอยู่ล่างๆ ในท้ายบทความครับ
ข้อเสนอรื่อง ”ถนนในเมือง” โดย อ.ฉันทฤทธิ์ วิโรจน์ศิริ สถาปนิก และนักผังเมืองอาวุโส Copy//ถนนในเมืองส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่เป็นสังคมเกษตรกรรม แต่เดิมมาไม่ได้มีการออกแบบวางแผนไว้สำหรับการใช้รถยนต์เป็นพาหนะหลัก เมื่อสภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนไป มีรถยนต์เข้ามาวิ่งในเมืองมากขึ้น ถนนบางสายก็ได้มีการขยายผิวจราจรออกไป โดยยอมเสียต้นไม้ริมทาง ทางเท้า ซึ่งเป็นคุณภาพชีวิตพื้นฐานของชุมชนเมือง บางที่การขยายถนนทำให้มีการรื้อทำลายสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างริมถนนที่มีคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าต่อจิตใจของผู้คนผู้อยู่อาศัยในชุมชน
ทิศทางการจราจรของถนนยังเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา ข้อมูลจากวิกิพีเดียแสดงว่าปัจจุบันคน 66% ของโลกอยู่ในประเทศที่มีการจราจรแบบชิดขวา (มีความยาวถนนรวมเป็น 72% ของโลก) และ 34% อยู่ในประเทศที่มีการจราจรแบบชิดซ้าย (มีความยาวถนน 28% ของโลก) ในภูมิภาคอาเซียนที่มีพรมแดนประเทศติดต่อกันพบว่า ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ 3 ประเทศมีการจราจรแบบชิดซ้าย ในขณะที่ พม่า ลาว เวียตนาม กัมพูชา มีการจราจรแบบชิดขวา และหากจะนับประเทศจีน เข้ามาด้วยก็จะเป็น 5 ประเทศ http://en.wikipedia.org/wiki/Right-_and_left-hand_traffic
ในเมืองที่การขยายถนนเป็นสิ่งที่ทำได้ลำบาก และเกิดเป็นความยุ่งยากอันตรายในการสัญจรมากขึ้นเมื่อพิจารณานำพาหนะทางเลือกอย่างจักรยานมาช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในเมือง แนวทางหนึ่งที่ใคร่นำเสนอคือการจัดให้เดินรถทางเดียว เพื่อเอาพื้นที่ถนนครึ่งหนึ่งมาใช้สำหรับจักรยานและเป็นที่จอดรถซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดแคลนในเมืองทั่วไป การเดินรถทางเดียวยังจะช่วยสร้างความปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองธุรกิจและย่านท่องเที่ยว ซึ่งผู้คนจากหลากหลายประเทศขาดความคุ้นเคยกับจุดหมายปลายทางบนถนน และมีโอกาสสูงที่จะประสบอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากความสับสนในทิศทางการเคลื่อนที่ของยานพาหนะในเมือง
การเดินรถทางเดียวในเมืองอาจทำให้บางคนต้องเพิ่มระยะทางการขับรถขึ้นเล็กน้อย แต่สำหรับในเมืองที่มีโครงข่ายถนนย่อยพอสมควรและไม่มีสภาพเป็น Superblock อย่างกรุงเทพฯ ความไม่สะดวกเพียงเล็กน้อยนี้น่าจะคุ้มค่าต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของคนทั้งเมือง และที่จริงหากพิจารณาจากสภาพการจราจรโดยทั่วไป ผู้ใช้รถก็มักต้องขับวนตามแนวถนนอยู่แล้ว เนื่องจากการกลับรถบนถนนเพื่อย้อนกลับมาทางเดิมนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างลำบาก บนถนนในเมืองส่วนใหญ่ที่มีขนาดเล็กและการจราจรค่อนข้างหนาแน่น การเดินรถทางเดียวยังอาจช่วยผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยกระจายรถยนต์ไปยังพื้นที่ถนนอื่นๆในเมือง แทนที่จะมากระจุกตัวอยู่บนเส้นทางหลักเพียงไม่กี่ถนน
เมื่อสมัยผมเป็นนักศึกษาไปเที่ยวช่วงปิดภาคกันที่ภูกระดึง จังหวัดเลย มีรุ่นพี่ท่านหนึ่งไม่แน่ใจว่าคณะสถาปัตย์หรือไม่พาแฟนไปด้วย แล้วแฟนไปประสบอุบัติเหตุถูกรถชนตาย เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก การเกิดอุบัติเหตุมีความเป็นไปได้มากว่าเนื่องมาจากไปอยู่ในสถานที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะเมื่อไปแบบนักท่องเที่ยว ความระมัดระวังตัวลดน้อยลง
อธิบายภาพแต่ละภาพครับในอัลบั้ม อ.ฉันทฤทธิ์ วิโรจน์ศิริ
สีน้ำเงินแสดงประเทศที่มีการจราจรแบบชิดซ้าย สีแดงแสดงประเทศที่มีการจราจรแบบชิดขวา ข้อมูลจากวิกิพีเดียแสดงว่าปัจจุบันคน 66% ของโลกอยู่ในประเทศที่มีการจราจรแบบชิดขวา (มีความยาวถนนรวมเป็น 72% ของโลก) และ 34% อยู่ในประเทศที่มีการจราจรแบบชิดซ้าย (มีความยาวถนน 28% ของโลก) ในภูมิภาคอาเซียนที่มีพรมแดนประเทศติดต่อกันพบว่า ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ 3 ประเทศมีการจราจรแบบชิดซ้าย ในขณะที่ พม่า ลาว เวียตนาม กัมพูชา มีการจราจรแบบชิดขวา และหากจะนับประเทศจีน เข้ามาด้วยก็จะเป็น 5 ประเทศ http://en.wikipedia.org/wiki/Right-_and_left-hand_traffic หากต่อไปมีการสัญจรเชื่อมโยงกันได้อย่างเสรีมากขึ้น การสัญจรบนทางหลวงระหว่างเมืองและประเทศแม้จะมีความยุ่งยากบ้าง แต่อันตรายยังอาจป้องกันได้ด้วยเกาะกลางถนนและการแยกระดับ แต่บนถนนที่มีเพียงเส้นแบ่งกลางภายในเมือง ก็คงมีคนโชคร้ายประสบอุบัติเหตุกันไม่น้อย ไหนจะยังมีมารยาทการขับรถที่ค่อนข้างหลากหลายจากคนในแต่ละประเทศที่โคจรมาพบกันบนถนน
จากสภาพถนนในเมืองส่วนใหญ่ซึ่งมักพบเป็นถนนมีสองช่องจราจร โดยช่องทางที่ติดขอบทางเท้าอาจกว้างกว่าเล็กน้อย เพื่อให้รถยังสามารถแล่นสวนกันได้เมื่อมีรถจอดอยู่ข้างถนน ถนนประเภทนี้มีผิวจราจรกว้างประมาณ 7-8 เมตร เมื่อรวมกับทางเท้าทั้งสองข้างที่กว้างประมาณ 1.5-2 เมตร รวมเป็นเขตทาง 9-10 เมตร อย่างไรก็ตามในถนนซอยบางสายอาจยังพบถนนที่กว้างเพียง 6 หรือ 8 เมตรจากแนวรั้วหรือด้านหน้าอาคารที่ตั้งอยู่สองฟากถนน ถนนที่มีการจราจรสวนกันสองทางจะมีโอกาสปะทะกันของรถที่วิ่งทางตรง 4 จุดและรถบนทางเลี้ยวอีก 5 จุด รวมเป็นจุดเสี่ยง 9 จุด จักรยานที่ใช้ถนนร่วมกับรถยนต์ในลักษณะนี้ก็จะมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ 9 จุดเช่นกัน และคนเดินถนน มีความเสี่ยงถูกชนโดยรถยนต์ 8 ครั้ง การถูกชนโดยจักรยานนั้นมีอยู่บ้าง แต่มักไม่หนักหนาสาหัสนัก การจัดให้รถยนต์เดินทางเดียว จะลดความเสี่ยงอุบัติเหตุรถชนกันลงเหลือเพียง 3 ครั้ง ความเสี่ยงคนถูกรถชนเมื่อข้ามถนนเหลือเพียง 4 ครั้ง และมีโอกาสชนกันระหว่างรถยนต์และจักรยาน 9 ตำแหน่ง ที่อาจทำให้ลดลงได้โดยใช้วิธีการควบคุมการสัญจร เช่นให้รถเคลื่อนที่ทีละด้าน หรือให้จักรยานเคลื่อนที่พร้อมกับคนข้ามถนน เป็นต้น แต่สิ่งสำคัญคือจะต้องมีการควบคุมความเร็วรถในเมืองให้ไม่เกิน 20-25 กม./ชม. มอเตอร์ไซค์นั้นนับเป็นพาหนะติดเครื่องยนต์ที่ต้องวิ่งร่วมกับรถยนต์ แยกจากจักรยานและคนเดิน สิ่งที่จะได้เพิ่มขึ้นสำหรับถนนแบบนี้คือต้นไม้ให้ร่มเงาในเมือง และทำหน้าที่ช่วยฟอกอากาศ กรองฝุ่นละอองและเสียง และยังได้ที่จอดรถยนต์และจักรยานที่แนวกลางถนน ซึ่งไม่มาบังอาคารร้านค้าที่อยู่ริมถนนทั้งสองฟาก ถ้าถนนแคบเกินไปหรือมีอุปสรรคกีดขวางทางเท้าอื่นๆที่แก้ไขได้ยาก อาจลดช่องจอดรถยนต์ที่กลางถนน ลดแนวปลูกต้นไม้ให้แคบลง เพื่อให้มีที่สำหรับจักรยานและคนเดินมากขึ้น
ถนนอีกแบบหนึ่งที่มักพบในเมือง คือถนนแบบ 4 ช่องจราจรสวนกัน ซึ่งจะมีความกว้างของผิวจราจรประมาณ 14 เมตร และอาจมีความกว้างของเขตทางประมาณ 18 เมตร ในภาพแสดงการตัดกันระหว่างทางเอกกับทางรอง การสัญจรของรถยนต์อาจจัดให้เดินรถทางเดียว หรือหากจำเป็นก็อาจให้สวนกัน ซึ่งอาจทำให้ต้องมีสัญญาณไฟช่วยควบคุม ตำแหน่งจอดรถอาจยืดระยะให้ห่างกันเพื่อให้รถสามารถจอดได้มากขึ้น บางจุดอาจจัดให้เป็นที่จอดรถประจำทาง
ตัวอย่างข้อเสนอแนะการจัดแนวสัญจรสำหรับถนนภายในบริเวณเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
ถนนในเมืองแม่ฮ่องสอนบางตอนต้องขึ้นเขา และการใช้จักรยานอาจไม่สะดวกสำหรับทุกคน หรือบางคนอาจไม่ชอบหรือขี่จักรยานไม่เป็น รถรางเป็นทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์การเดินทางระยะสั้นในเมืองได้เป็นอย่างดี อย่างเช่นที่กำลังประสบความสำเร็จที่เทศบาลตำบลแกลง จังหวัดระยอง ชมวีดีโอ ครับ
อาจารย์ สำราญ มีสมจิตร ( Oh Sam) +++ เพิ่มเติมข้อมูลครับ - พื้นที่เจาะขาวกลางเมือง เป็นสนามบินพาณิชย์แม่ฮ่องสอน - พื้นที่เขียวทแยงขาว เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ - พื้นที่สีน้ำเงิน เป็นย่านสถานที่ราชการ - พื้นที่เหลือง-ส้ม-แดง เป็นย่านอยู่อาศัยหนาแน่นน้อย-ปานกลาง-มาก - พื้นที่เขียวมะกอก (เขียวขี้ม้า) เป็นสถานศึกษา -ถนนแกนกลางของเมือง (Backbone of City) คือถนนขุนลุมประพาส - แกนเมืองตะวันออก-ตะวันตก และแกนเมืองเหนือ-ใต้ ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร - ถ้าส่งเสริมให้เป็น "เมืองแห่งการเดินและปั่น" เมืองมีทุนเดิมอยู่แล้วมากมาย ได้แก่ มีอากาศดี (ฤดูหนาวยาวนาน) มีแนวต้นไม้ใหญ่ที่ร่มรื่น เมืองมีการใช้ที่ดินกระจุกตัวในพื้นที่ราบที่มีอยู่จำกัด ภูมิประเทศในเมืองเป็นเนินที่ไม่สูงชันมาก (จักรยานแบบมีเกียร์ทด-ทุ่นแรง ประเภท 5-8 speed ก็ปั่นได้สบาย) - จะปั่นไปยังแหล่งใดๆ ภายในเขตเทศบาล ใช้เวลาจากใจกลางเมืองเพียง 10 นาที ออกไปทุกทิศทาง
ตัวอย่างข้อเสนอแนะการจัดแนวสัญจรสำหรับถนนภายในบริเวณเมืองเก่าลพบุรี
คอมเม้นท์เพิ่มเติมใน Facebook ครับ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.318329288282761.75895.100003170779894&type=1
Somjate Wimolkasem ยากที่จะฟื้นคืนให้เหมือนเดิมแล้วครับ แต่ต้องหามาตรการแก้ไขและป้องกันในส่วนที่พอหลงเหลืออยู่บ้างเอาไว้ครับ Jobb Virochsiri ผมก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องหวนกลับไปสู่สภาพเดิมของวันวาน ไม่ได้ต่อต้านการใช้รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ เพียงแต่อยากเห็นการใช้ยานพาหนะเดินทางสัญจรที่เหมาะสมต่อสภาพของเมือง โดยเฉพาะเมืองที่มีมรดกศิลปวัฒนธรรม ซึ่งการเน้นความสะดวกสำหรับรถยนต์มากเกินไปมีแต่จะทำลายความสวยงามของเมือง รถยนต์นั้นต้องใช้พื้นที่มากมายสำหรับเป็นถนนและที่จอด ที่จะไปลดพื้นที่สีเขียว บั่นทอนคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของผู้สัญจรในเมือง ท่านที่สนใจข้อมูล บทความดีๆ มีสาระ สามารถเข้าไปกด like บน Facebook ตามลิ้งก์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านข้อมูลปัจจุบัน และย้อนหลัง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่มากก็น้อยครับ http://www.facebook.com/tourrattanakosin
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |