*/
<< | กุมภาพันธ์ 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
ภาพนี้จะเห็นได้ไม่ง่ายที่เมืองไทยครับ ในอเมริกาภาคประชาชนเค้ามีส่วนร่วมกับการพัฒนาเมืองอย่างจริงจัง และองค์กรปกครองท้องถิ่น ก็มีประสิทธิภาพ มีอิสระ ไม่ถูกครอบงำจากส่วนกลาง ...บ้านเรายังไปไม่ถึงไหน แล้วเราจะแก้ไขกันอย่างไร ระดมความคิดกันครับ
วันนี้ เป็นบทความน่าสนใจจริงๆ ครับ ของ อ.ฉันทฤทธิ์ วิโรจน์ศิริ สถาปนิก และนักผังเมืองอาวุโส ที่เคยใช้ชีวิต และทำงานอยู่ในอเมริกา เป็นระยะเวลานานพอสมควร ท่านได้วิพากษ์อย่างตรงไปตรงมา กับระบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ของไทย เมื่อเปรียบเทียบกับทางรัฐเทกซัส หมายเหตุ ถึงแม้ ท่านอาจารย์ ฉันทฤทธิ์ จะไม่ใช่นักการเมือง แต่บทวิเคราะห์ ก็น่าสนใจทีเดียว น่าจะตรงใจกับอีกหลายท่านครับ ในความเห็นผม ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ ว่ามันเป็นเรื่องจริง ที่เราทุกคนรู้กันเป็นอย่างดี เป็นรากเหง้าของปัญหาในกรุงเทพมหานคร และปัญหาของหลายๆ เมือง หลายๆจังหวัด เช่นเดียวกัน
เข้าสู่บทความ ซึ่งเป็นโพสต์ของอาจารย์ใน Facebook ตามลิ้งก์ครับ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=338475589601464&set=a.338475202934836.79729.100003170779894&type=3&theater
****หมายเหตุ : จะมีคลิปวีดีโอ แทรกอยู่ในเนื้อหาด้วยน่ะครับ ถ้าดูคลิปด้วย ก็น่าจะเข้าใจดีว่า ในอเมริกา ประชาชนเค้ามีส่วนร่วมอย่างมาก กับภาครัฐ ซึ่งยังต่างกับเมืองไทยอย่างมากมาย ซึ่งประชาชนคนไทย ยังมิได้รับสิทธิ์ มีเสียง ในการมีส่วนร่วม ในระดับที่เรียกว่า“น้อยมาก”เลยครับในปัจจุบัน ซึ่งนักการเมืองไทย ในปัจจุบัน ก็ดูเหมือนไม่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงใจซักเท่าไหร่
เข้าเนื้อหากันครับ Copy//ได้มีการถกกันถึงประเด็นที่ อาจารย์ ฐาปนา บุณยประวิตร กล่าวถึงความสำเร็จของการใช้แนวคิด Smart Growth ในแคนาดา (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) อันเกิดจากความร่วมมือร่วมใจระหว่างภาคประชาชน มหาวิทยาลัย และการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานจากภาครัฐคือ City of Vancouver
ในอเมริกา ชุมชน ภาคประชาชน มีส่วนร่วมอย่างมาก
ผมอยากขอแนะนำหนังสืออธิบายระบบการปกครองท้องถิ่น ในรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา เขียนโดย อ.นรนิติ เศรษฐบุตร หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือสถาบันพระปกเกล้า ตั้งอยู่ชั้นใต้ดิน ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ระบบการปกครองท้องถิ่นของรัฐอื่นๆในอเมริกาส่วนใหญ่จะคล้ายกัน อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้าง ซึ่งผมคิดว่าในแคนาดาก็น่าจะคล้ายกัน รวมทั้งประเทศอื่นๆในยุโรปด้วย ซึ่งหากผมมีโอกาสจะพยายามศึกษาเปรียบเทียบดู
หนังสือแนะนำ อธิบายระบบการปกครองท้องถิ่น ในรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา เขียนโดย อ.นรนิติ เศรษฐบุตร
เล่มนี้เป็นคู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือของสถาบันพระปกเกล้า
บางตัวอย่างการประชุมของ City Council อันนี้อาจดุเดือดนิดหน่อย แต่แสดงให้เห็นระบบการปกครองท้องถิ่นในอเมริกาที่เปิดโอกาสให้เห็นการปฏิสัมพันธ์โดยตรงจากประชาชนสู่องค์กรบริหารปกครอง ยังมีตัวอย่างอีกมากบน YouTube ที่อาจเป็นเรื่องสร้างสรรค์ได้เช่นเดียวกับปัญหาความขัดแย้ง บางคลิปจะเห็นวิธีการไปสู่ข้อสรุปของการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน City ของอเมริกาก็น่าจะคล้ายกับ อบต.ของประเทศไทย คนมากขึ้นก็มีเรื่องมากขึ้น เงินรายได้ก็มากขึ้น http://www.youtube.com/watch?v=b0YTU80QbR0
นายกเทศมนตรีหรือ Mayor เป็นประธานโดยตำแหน่งของ City Council ซึ่งผ่านการเลือกตั้งจากประชาชนในท้องถิ่น
การประชุมและลงมติของ City Council โดยมีการประกาศล่วงหน้าและแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียจากการมติตัดสินใจได้ทราบเรื่องและมาร่วมการประชุม เปิดให้ประชาชนเข้าฟังและแสดงข้อคิดเห็น ปัจจุบันแทบทุกเมืองจะออกอากาศผ่าน Local TV cable http://www.youtube.com/watch?v=0dAno9I0Bb0
Celebrity Citizen มาประชุมกับ City Council บรรยากาศก็เป็นอย่างนี้ http://www.youtube.com/watch?v=gtuz5OmOh_M ลอง Jobs ขู่จะย้าย Apple ออกจากเมืองทั้ง Council ก็ตัวสั่น
ขอขอบพระคุณ อ.ฉันทฤทธิ์ วิโรจน์ศิริ ที่อนุเคราะห์ข้อมูล ในการเผยแพร่ มา ณ ที่นี้ครับ
หมายเหตุ เพิ่มเติมข้อมูล เรื่อง “ผังเมืองไทย” มีมั้ยแบบนี้ ขอความจริงใจ ลองมอง “ผังเมืองอเมริกา” ความต้องการของ ชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นหลัก อย่างแท้จริง” บนบล็อก OKnation ตามลิ้งก์ http://www.oknation.net/blog/smartgrowth/2012/02/09/entry-1
ตามบทความ เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานการผัง” ซึ่งเป็นบทความหนึ่งของ อ.ฐาปนา บุณยประวิตร นักวิชาการทางด้านผังเมือง เจ้าของบทความ Smart Growth Thailand (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)
ท่านที่สนใจข้อมูล บทความดีๆ มีสาระ สามารถเข้าไปกด like บน Facebook ตามลิ้งก์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านข้อมูลปัจจุบัน และย้อนหลัง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่มากก็น้อยครับ http://www.facebook.com/tourrattanakosin
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |