ปกติบล็อกนี้จะจัดหนักเรื่องการเมือง และเรื่องอื่น ๆ ตามแต่อยากจะโพสบ้างเป็นครั้งคราว มาคราวนี้ก็ว่าด้วยสาระความรู้ ที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ หรือผ่านเลยไป ซึ่งจริง ๆ ก็มาจากการที่เวลาว่าง ๆ ก็บังเอิญไปขุดค้นมาแท้ ๆ ครับ แล้วเห็นว่ามีสาระที่อยากให้ทุก ๆ คนได้ทราบกัน ก็เลยขอนำมาฝากกันครับ
เวลาไปไหนมาไหน จะไปติดต่อธุระอะไร เราก็มักจะได้ยินคำว่า “ในเวลาราชการ” เสมอ ๆ หรือการไปติดต่อราชการ ก็ต้องไปติดต่อตาม “วันและเวลาราชการ” ถ้าไปผิดเวลาประตูปิดนี่ก็ช่วยอะไรไม่ได้จริง ๆ เพราะราชการมักทำตามเวลา เว้นเสียแต่ว่าจะมีอะไรเร่งด่วนจริง ๆ วันหยุด เป็นวันที่คนทำงานรอคอย เพราะนั่นเป็นวันที่หลาย ๆ คนได้หยุดพักผ่อนจากการงานต่าง ๆ ไม่ต้องห้อยโหนรถไฟฟ้า เบียดรถเมล์ไปทำงาน (แต่จะไปเบียดกันตามห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารต่าง ๆ แทน ๕๕๕+) วันหยุดในแต่ละวันนั้น อยู่ดี ๆ จะให้หยุดกันเฉย ๆ แบบไม่มีเหตุผลก็ไม่ใช่นะครับ แต่ที่หยุดนั้น ก็เพราะเพื่อให้ระลึกถึงความสำคัญของวันนั้น ๆ หรือเพื่อให้เรา ๆ ท่าน ๆ ได้ไปร่วมงาน ร่วมเทศกาลต่าง ๆ ตามประเพณีที่มีมาครับ แต่ในที่นี้จะขอเล่าถึงวันหยุดราชการของบ้านเราก่อนครับ ช่วงว่าง ๆ ก็ได้ไปค้นหาเรื่องเกี่ยวกับวันหยุดของบ้านเราจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมประกาศข่าวสารของทางราชการ เวลาทางราชการมีประกาศอะไร ก็จะลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่กฎหมายรัฐธรรมนูญคำสั่งศาล หรือแม้แต่ประกาศเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ของทางราชการ ซึ่งในเว็บไซต์สามารถหาราชกิจจานุเบกษาย้อนหลังได้ มีเยอะมากจริง ๆ ครับ แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่ไปค้นจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับเรื่องของวันหยุด ก็จะสามารถย้อนอดีตไปได้ไกลถึงปีพุทธศักราช ๒๔๕๖ หรือเมื่อเกือบ ๑๐๐ ปีที่แล้วนั่นเองครับ วันหยุดราชการนั้น ในอดีตแต่ละหน่วยงานก็จะหยุดไม่เหมือนกัน ไม่เป็นมาตรฐาน จนต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงออก “ประกาศกำหนดวันหยุดราชการนักขัตฤกษ์ พระพุทธศักราช ๒๔๕๖” ขึ้น ซึ่งประกาศและมีผลในช่วงปลายปี คือ วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๔๕๖ (ในขณะนั้นเราถือเอาวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่) เพื่อให้การหยุดของราชการนั้น เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งตามประกาศดังกล่าว ได้อธิบายเหตุผลของการหยุดในวันหยุดต่าง ๆ ไว้ ๓ อย่าง คือ ซึ่งการหยุดนักขัตฤกษ์ในขณะนั้น มีกำหนดในการหยุด คือ พระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์ แลนักขัตฤกษ์ วิสาขะบูชา เข้าปุริมพรรษา ทำบุญพระบรมอัษฐิพระพุทธเจ้าหลวง ทำบุญพระบรมอัษฐิ แลพระราชพิธีฉัตรมงคล โดยที่วันหยุดทางสุริยคติ ที่กำหนดวันและเดือนแน่นอนแล้ว ก็จะเป็นไปตามกำหนดทุกปี ส่วนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งอาศัยวันข้างขึ้นข้างแรมตามแบบจันทรคติ ก็จะใช้วันเพ็ญ (วันที่พระจันทร์เต็มดวง) ในการกำหนดวัน และอาจมีวันหยุดพิเศษอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงมีการประกาศวันหยุดราชการนักขัตฤกษ์ใหม่ โดยออกประกาศเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘ ซึ่งมีการเลิกหยุดหลาย ๆ วันในช่วงต้นปี และเปลี่ยนแปลงวันหยุดบางวันให้เหมาะสม คือ ตะรุษะสงกรานต์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ และการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และการขึ้นครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการอีกครั้งหนึ่ง โดยพันเอกพระยาพหลพลหยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ออก “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการ” ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๘๐ โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคมปีเดียวกัน ซึ่งประกาศวันหยุดราชการไว้ ดังนี้ วันตรุษสงกรานต์ (New Year) วันจักรี (Chakri Day) วันวิสาขะบูชา (Visakha Buja) **วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ (Constitution Petition Day) **วันรัฐธรรมนูญชั่วคราว (Provisional Constitution Day) วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday) วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) วันมาฆะบูชา (Magha Buja) จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ ปลายพุทธศักราช ๒๔๘๒ ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออก “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ” ซึ่งเริ่มครอบคลุมถึงเรื่องเวลาทำงานของราชการตามปกติด้วย โดยกำหนดให้ข้าราชการทำงานตามเวลา คือ ทำงานตั้งแต่เวลา ๐๙:๐๐ น. – ๑๖:๐๐ น. โดยหยุดพักกลางวันเวลา ๑๒:๐๐ น. – ๑๓:๐๐ น. ส่วนวันเสาร์หยุดครึ่งวัน คือ ทำงานตั้งแต่เวลา ๐๙:๐๐ น. – ๑๒:๐๐ น. สำหรับวันอาทิตย์ให้ถือเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ และได้เปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการดังนี้ วันตรุษสงกรานต์และขึ้นปีใหม่ (New Year) วันจักรี (Chakri Day) วันวิสาขะบูชา (Visakha Buja) **วันชาติ (National Day) วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) **วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday) วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) วันมาฆะบูชา (Magha Buja) อนึ่ง ทางราชการกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ของราชการ และโรงเรียนทั่วไป แต่สำหรับโรงเรียนที่ใช้วัดเป็นสถานศึกษา ให้หยุดในวันพระ ในปีต่อมา คือ ปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการบังคับใช้ “พระราชบัญญัติปีประดิทิน พุทธศักราช ๒๔๘๓” ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การให้ปีปฏิทินเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ ๓๑ ธันวาคม (หรือพูดง่าย ๆ คือ เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นแบบที่เราถือกันในปัจจุบันตามแบบสากลนั่นแหละครับ) ซึ่งหมายความว่าปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ มีเพียง ๙ เดือนเท่านั้น และจากการออกกฎหมายดังกล่าว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการในวันขึ้นปีใหม่ คือ หยุดวันขึ้นปีใหม่ ๓ วัน คือ วันที่ ๓๑ ธันวาคม วันที่ ๑ และ ๒ ธันวาคม และในปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ เกิดกรณีพิพาทเรื่องดินแดนอินโดจีนกับฝรั่งเศสขึ้น และได้ยุติลงโดยการลงนามในสัญญาพักรบ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๔๘๔ จนต่อมา เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๔ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้เพิ่มเติมวันหยุดราชการอีก ๑ วัน คือ วันลงนามในสัญญาพักรบระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส โดยหยุดในวันที่ ๒๘ มกราคม ของทุกปี และได้ยกเลิกวันหยุดราชการดังกล่าวในปี ๒๔๘๗ ในสมัยที่นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในปลายปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ ในสมัยที่หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้วันปิยมหาราช (Chulalongkon Day) เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมอีก ๑ วัน และลดการหยุดในวันขึ้นปีใหม่ให้เหลือเพียง ๒ วัน คือ วันที่ ๓๑ ธันวาคม และ ๑ มกราคม ต่อมา ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ ๒ ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๙๑ ให้หน่วยงานราชการใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี สตูล ยะลา และนราธิวาส ให้หยุดวันพฤหัสบดีครึ่งวัน ตั้งแต่เวลา ๑๒:๐๐ น. และหยุดวันศุกร์เต็มวัน เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติและการประกอบศาสนกิจทางศาสนา ตลอดจนความสะดวกในการติดต่อราชการของประชาชน และในวันที่ ๖ สิงหาคม ปีเดียวกัน ได้ออก “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ พ.ศ. ๒๔๙๑” ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการจากที่ผ่าน ๆ มา ดังนี้ ต่อมา ก็ได้มีการออกประกาศเปลี่ยนแปลงวันหยุดต่าง ๆ เรื่อยมา ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมในแต่ละยุคสมัย ดังนี้ ในปลายปี ๒๔๙๓ มีการออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ ๒) กำหนดเพิ่มเติมให้วันที่ ๒๔ ตุลาคม อันเป็นวันสหประชาชาติ (United Nations Day) ให้เป็นวันหยุดราชการอีก ๑ วัน และเพิ่มวันหยุดราชการในวันรัฐธรรมนูญ โดยหยุดวันที่ ๙ และ ๑๑ ธันวาคม รวมหยุด ๓ วัน อนึ่งเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน และทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคมในปีเดียวกับ ทำให้รัฐบาลได้ออกประกาศฉบับที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๙๔ โดยเปลี่ยนแปลงวันหยุดดังนี้ ส่วนประกาศฉบับที่ ๕ นั้น ไม่สามารถหาเอกสารจากแหล่งใด ๆ ได้ จึงไม่ขออธิบายในที่นี้ จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ คณะรัฐมนตรีปรึกษาแล้วเห็นว่า วันหยุดราชการที่ประกาศที่ผ่านมานั้น มีวันหยุดมากเกินไป ไม่เหมาะสมต่อการบริการราชการ และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาติ จึงได้ออกประกาศฉบับที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๙๗ โดยประกาศให้มีวันหยุดราชการดังนี้ วันขึ้นปีใหม่ (New Year) วันมาฆะบูชา (Makha Bucha) วันจักรี (Chakri Day) วันฉัตรมงคล (Anniversary of H.M. the King Coronation) วันพืชมงคล (Harvest Festival) วันวิสาขะบูชา (Wisakha Bucha) วันชาติ (National Day) วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระบรมราชินี (The Queen’s Birthday) วันเฉลิมพระชนมพรรษา (The King’s Birthday) วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ รัฐบาลขณะนั้นได้กำหนดวันหยุดเพิ่มเติม โดยออกประกาศฉบับที่ ๘ เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๙๙ ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานราชการหยุดเพิ่มเติมในวันแม่ คือ วันที่ ๑๕ เมษายน และวันเด็ก คือ วันจันทร์สัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม ซึ่งสรุปได้ว่า ตามประกาศฉบับนี้ได้ยกเลิกวันหยุดราชการที่หยุดหลาย ๆ วันให้เหลือวันเดียว และยกเลิกการหยุดในวันสงกรานต์ วันปิยมหาราช และวันสหประชาชาติ แต่ในเวลาต่อมาอีกประมาณ ๒ เดือน คือในวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๙๗ ได้มีการออกประกาศฉบับที่ ๗ ซึ่งกำหนดให้วันสหประชาชาติ คือ วันที่ ๒๔ ตุลาคม เป็นวันหยุดราชการอีก ๑ วัน (ซึ่งเท่ากับว่ายังคงหยุดในวันสหประชาชาติต่อไป โดยไม่มีการเว้นช่วงใด ๆ) และในปีเดียวกัน รัฐบาลก็ได้ออกประกาศฉบับที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙ เพื่อเปลี่ยนวันหยุดประจำสัปดาห์ โดยหยุดในวันพระ (วันธรรมสวนะ) แทนที่การหยุดครึ่งวันในวันเสาร์ โดยมีผลบังคับใช้กับหน่วยราชการทั้งหมด และรวมถึงโรงเรียนทั่วประเทศอีกด้วย เพื่อให้เป็นวันหยุดสำหรับบำเพ็ญศาสนกิจ อีกทั้งทำให้ข้าราชการและประชาชนได้ระลึกถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา และยึดมั่นในพระรัตนตรัย นำไปสู่การประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร และเกิดความสงบเรียบร้อยต่อสังคม แต่การหยุดดังกล่าวก็ได้ยกเลิกไป และกลับมาหยุดครึ่งวันในวันเสาร์เช่นเดิม เมื่อรัฐบาลในสมัยของนายพจน์ สารสิน ออกประกาศฉบับที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๐๐ และในอีก ๘ วันต่อมา คือ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๐๐ ก็ได้ออกประกาศฉบับที่ ๑๑ ซึ่งได้กำหนดให้หยุดในวันหยุดราชการดังนี้ วันขึ้นปีใหม่ (New Year) วันมาฆะบูชา (Makha Bucha) วันจักรี (Chakri Day) วันสงกรานต์ (Songkran) วันฉัตรมงคล (Anniversary of H.M. the King Coronation) วันพืชมงคล (Harvest Festival) วันวิสาขะบูชา (Wisakha Bucha) วันชาติ (National Day) วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระบรมราชินี (The Queen’s Birthday) วันปิยมหาราช (Chulalongkon Day) วันเฉลิมพระชนมพรรษา (The King’s Birthday) วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ ซึ่งเป็นยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศฉบับที่ ๑๒ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ ซึ่งกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดประจำสัปดาห์ใหม่ คือ ซึ่งสรุปได้ว่าประกาศฉบับดังกล่าว กำหนดให้หยุดเพิ่มเติมในวันสงกรานต์ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน อีก ๑ วัน และวันปิยมหาราช คือ วันที่ ๒๓ ตุลาคม อีก ๑ วัน ตลอดจนยกเลิกการหยุดในวันสหประชาชาติ คือ วันที่ ๒๔ ตุลาคม และได้ใช้เป็นหลักในการกำหนดวันหยุดราชการในเวลาต่อมา ซึ่งวันหยุดราชการบางวันก็ได้มีการเพิ่มเติมหรือยกเลิกได้ตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา ๑. เวลาทำงาน ให้เริ่มทำงานตั้งแต่เวลา ๐๘:๓๐ น. – ๑๖ :๓๐ น. โดยให้หยุดกลางวันในช่วงเวลา ๑๒:๐๐ น. – ๑๓:๐๐ น. ต่อมา ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ได้ออกประกาศฉบับที่ ๑๓ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๐๓ ซึ่งสืบเนื่องมาจากการที่สำนักนายกรัฐมนตรีมีประกาศให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ วันที่ ๕ ธันวาคม เป็นวันชาติแทน จึงได้ยกเลิกการหยุดของราชการในวันที่ ๒๔ มิถุนายน และในปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ ได้ออกประกาศฉบับที่ ๑๔ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๐๕ ซึ่งกำหนดให้หยุดในวันอาสาฬหบูชา คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (ถ้ามีเดิอน ๘ ๒ หนให้ใช้หนหลัง) เป็นวันหยุดประจำปีเพิ่มเติมอีก ๑ วัน และในปลายปีเดียวกัน ได้ออกประกาศฉบับที่ ๑๕ ซึ่งเพิ่มวันหยุดในวันขึ้นปีใหม่อีก ๑ วัน คือ วันที่ ๓๑ ธันวาคม รวมเป็นหยุด ๒ วัน ในปีต่อมา ได้ยกเลิกการหยุดประจำสัปดาห์ในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ สำหรับหน่วยงานราชการใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้หยุดในวันเสาร์และวันอาทิตย์เช่นเดียวกับหน่วยงานราชการทั่วไป ตามประกาศฉบับที่ ๑๖ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๖ และเมื่อคราวฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ ซึ่งพลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้ออกประกาศฉบับที่ ๑๗ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๒๕ โดยเปลี่ยนชื่อวันจักรี ซึ่งหยุดในวันที่ ๖ เมษายนของทุกปี เป็น “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติของพระองค์ในโอกาสพิเศษดังกล่าว ต่อมาในเดือนเมษายน ๒๕๓๒ ในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศฉบับที่ ๑๘ กำหนดวันหยุดเพิ่มเติมในวันสงกรานต์ โดยให้หยุดในวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน แต่ในปี ๒๕๔๐ สมัยที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้ออกประกาศฉบับที่ ๑๙ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ ให้หยุดวันสงกรานต์ในวันที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายน เพื่อให้ได้กลับไปร่วมเทศกาลให้ตรงกับธรรมเนียมประเพณีที่ถือกันมาแต่โบราณ และล่าสุด เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ได้มีประกาศฉบับที่ ๒๐ ซึ่งกำหนดให้วันตรุษจีน ซึ่งเป็นวันสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นวันหยุดราชการอีก ๑ วัน สำหรับหน่วยราชการใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล อีกด้วย
โดยสรุปแล้ว ในปัจจุบัน รัฐบาลได้กำหนดเวลาทำงาน และวันหยุดราชการสำหรับหน่วยงานราชการต่าง ๆ โดยทั่วไป ดังนี้ เวลาทำงาน
วันหยุดราชการ วันมาฆบูชา (Makha Bucha) วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วันสงกรานต์ (Songkran) วันฉัตรมงคล (Anniversary of H.M. the King Coronation) วันพืชมงคล (Harvest Festival) วันวิสาขบูชา (Wisakha Bucha) วันอาสาฬหบูชา (Asarnha Bucha) วันเข้าพรรษา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันปิยมหาราช (Chulalongkorn Day) วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) อนึ่ง สำหรับหน่วยงานราชการบางหน่วย จะมีวันหยุดราชการพิเศษเพิ่มเติมนอกจากนี้อีก คือ โรงเรียนต่าง ๆ จะหยุดในวันครู คือ วันที่ ๑๖ มกราคม และกระทรวงกลาโหม จะหยุดในวันกองทัพไทย คือ วันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีอีกด้วย วันนี้วันหยุดสิ้นปี ใครจะไปฉลองกันที่ไหนก็ขอให้ฉลองกันด้วยความปลอดภัย มีสติทุกคน และปีใหม่ก็จะได้เริ่มทำในสิ่งที่ดี ๆ และใช้วันหยุดนี้ให้คุ้มค่า โดยนึกถึงความสำคัญของวันหยุดต่าง ๆ ที่มีในประเทศของเราครับ แต่เรื่องนี้ยังไม่จบ เดี๋ยวว่าง ๆ จะเล่าถึงเรื่องของวันหยุดธนาคารกันอีกครั้ง เมื่อมีเวลานะครับ สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๖ ครับ.
ที่มาของข้อมูล : |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ธันวาคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |