แพสวีหนุ่ม กำลังดำเนินการต่ออยู่ ใกล้จะเสร็จแล้วค่ะ แม่น้ำสวีหนุ่ม ห่างจากทะเลไม่มากนัก (จากที่จอดแพประมาณ 1 กิโลเมตร) ปากคลองสวี บ้านในไร่ ต.ด่านสวี อ.สวี จ.ชุมพร งดงามมาก โฮมสะเตย์ บ้านในไร่ ปากคลองสวี ต.ด่านสวี อ.สวี ซึ่งเป็นที่ตั้งอุทยานป่าชายเลน มีสะพานเดินชมป่าชายเลน ใกล้กับ โฮมสะเตย์ ท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศน์ ด้วยการล่องแพที่แม่น้ำสวีหนุ่ม อ.สวี จ.ชุมพร อีกไม่กี่วันจะมีแพ ล่องแม่น้ำสวีหนุ่ม เพื่อให้นักท่อง เที่ยวชมธรรมชาติป่าชายเลน หรือดูระบบนิเวศน์ของสัตว์น้ำ หรือเวลากลางคืนได้มีโอกาสชมหิ่งห้อยกระพริบบนต้นลำภู ขอให้เพื่อนๆ อดใจรอสักระยะหนึ่ง เพราะตอนนี้กำลังต่อแพ อยู่ ทำเหมือนกับแพเมืองกาญจนบุรี และวันนี้ได้นำภาพส่วน หนึ่งของแพที่ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้วมาให้ชมกันก่อนค่ะ พร้อมกันนี้ได้ถ่ายรูปโฮมสะเตย์ บ้านในไร่ ปากคลองสวีมา ให้ชมด้วย รับรองว่าไม่ผิดหวัง ซึ่งเหมาะกับชมรมอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อมจากโรงเรียนต่างๆ จะได้ไปดูงานกัน รอนะค่ะ วันนี้อ่าน สารคดีเรื่องป่าชายเลนไปก่อนนะค่ะ ประโยชน์จากป่าชายเลน ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ intertidal forest) คือ กลุ่มของสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุด และน้ำขึ้นสูงสุดบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าวป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ป่าชายเลน อาหารโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของ สัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะเป็น เกราะกำบังและลดความรุนแรง ของคลื่นลมชายฝั่ง ช่วยดักตะกอนสิ่งปฏิกูล และสารพิษต่าง ๆ มิให้ไหลลงไปสะสมในบริเวณ ชายฝั่งและในทะเล ในปัจจุบันมีปัญหาหลายประการ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง แหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม และกิจกรรมอื่นอีก หลายประเภทได้ขยายไปสู่ชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าชายเลน จนทำให้ป่าชายเลน ลดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนน่าเป็นห่วง ไม้ การประมง และสิ่งแวดล้อม เช่น ในด้านป่าไม้ไม้จากป่าชายเลน โดยเฉพาะไม้โกงกางนำ มาทำฟืน เผาถ่าน ให้ถ่านที่มีคุณภาพดี ไม้ป่าชายเลนอีกหลายชนิดนำไปทำสิ่ง ก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และกลั่น เอกสารเคมีที่เป็นประโยชน์ เช่น แทนนิน แอลกอฮอล์ กรด น้ำส้ม และ น้ำมันดิน ในด้านการประมงป่าชายเลนเป็นแหล่งขยายพันธุ์ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานา ชนิด เช่น กุ้ง อันได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย โดยมีคนศึกษาพบว่าบริเวณป่าชายเลนประเทศ ไทย มีกุ้งชนิดต่าง ๆ ประมาณ 16 ชนิด กุ้งแชบ๊วย โดยมีคนศึกษาพบว่าบริเวณป่าชายเลน ประเทศไทย มีกุ้งชนิดต่าง ๆ ประมาณ 16 ชนิด กุ้งบางชนิดอาจมีชีวิตวางไข่ในทะเลลึก แล้วเข้ามาเติบโตในชายฝั่ง ขณะที่สัตว์น้ำบางชนิดอาจใช่บริเวณป่าชายเลนเป็น ประเภทกุ้งที่บางชนิดเข้ามาเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในแหล่งน้ำชายฝั่งอันอุดมสมบูรณ์ จนเจริญ เติบโตแล้วออกสู่ทะเลลึกเพื่อการแพร่พันธุ์ต่อไป แต่บางชนิดก็มีถิ่นอาศัยตั้งแต่เกิดจนตาย ในบริเวณเดียวกัน (endemic species) และพบปลาในวัยอ่อนอาศัยตามบริเวณชายฝั่งมาก ที่สุด เช่น ปลากะพงขาว ปลาเก๋า ปลากระบอก และปลานวลจันทร์ทะเล สัตว์น้ำประเภท หอยที่มีค่าทางเศรษฐกิจที่พบบริเวณป่าชายเลนและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น บนที่ราบดินเลน ที่ราบดินทรายปนเลน ได้แก่ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยกะพง นอกจากนี้ สัตว์น้ำประเภทปู จะพบมากชนิด เช่น ปูแสม ปูทะเล และปูม้า สำหรับปูทะเลสามารถนำมา เลี้ยงให้มีเนื้อแน่นหรือจับมากบริเวณป่าชายเลน ปูทะเล (Scylla serrata) ไม่มีวงจรชีวิตออก สู่ทะเลลึกเลยตลอดชีวิตจะอยู่อาศัยในบริเวณป่าชายเลน และพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น ซึ่งต่าง จากปูม้า(Portunus pelagicus) ซึ่งในวัยอ่อนจะหากินบริเวณที่ราบดินเลน ใกล้ฝั่งป่าชายเลน แต่พอโตขึ้นจะว่ายออกไปหากิน และดำรงชีวิตในทะเลห่างออกไป ชาวประมงจับปูชนิดนี้ ด้วยอวนลอยตรงกันข้ามกับการจับปูทะเล ซึ่งต้องจับบริเวณชายฝั่งด้วยแร้วดักปู หรือใช้ตะขอ เกี่ยว ดึงออกจากรูที่อยู่ ที่มีต่อกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม พืชพรรณธรรมชาติชนิดต่าง ๆ เมื่อได้รับแสงจาก ดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงจะทำให้เกิดอินทรียวัตถุและการเจริญเติบโต กลายเป็นผู้ผลิต (producers) ของระบบส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ นอกเหนือจากมนุษย์นำไป ใช้ประโยชน์จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและในดิน ในที่สุดก็จะกลายเป็นแร่ธาตุของพวกจุลชีวัน เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แพลงก์ตอน ตลอดจนสัตว์เล็ก ๆ หน้าดินที่เรียกกลุ่มนี้ว่า ผู้บริโภค ของระบบ (detritus consumers) พวกจุลชีวันเหล่านี้จะเจริญเติบโตกลายเป็นแหล่งอาหาร ของสัตว์น้ำเล็ก ๆ อื่น ๆ และสัตว์เล็ก ๆ เหล่านี้ จะเจริญเติบโตเป็นอาหารของพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับของอาหาร (tropic levels) นอกจากนี้ ใบไม้ที่ตกหล่นโคน ต้นอาจเป็นอาหารโดยตรงของสัตว์น้ำ (litter feeding) ก็ได้ ซึ่งทั้งหมดจะเกิดเป็นห่วงโซ่ อาหารขึ้น ในระบบนิเวศป่าชายเลน และโดยธรรมชาติแล้วจะมีความสมดุลในตัวของมันเอง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะเป็นผลทำให้ระบบความสัมพันธ์ นี้ถูกทำลายลง จนเกิดเป็นผลเสียขึ้นได้ เช่น ถ้าหากพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย จำนวน สัตว์น้ำก็จะลดลงตามไปด้วยตลอดจนอาจเกิดการเน่าเสียของน้ำตามมา พบว่า ปูทะเล (scylla serrata) จัดเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในบริเวณป่าเลนจังหวัดระนอง เพราะการจับปูทะเลเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ดีแก่ชาวประมงพื้นบ้าน จำนวน 70 คน ใน 4 หมู่บ้านที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน โดยสามารถจับขายได้ละประมาณ 109 ตัน ซึ่งใน จำนวนนี้พบว่าร้อยละ 46 หรือประมาณ 50 ตัน เป็นปูทะเลที่มีขนาดเล็กกว่า ที่ประมาณร้อยละ 42 จะมีขนาดใหญ่กว่า ที่มีไข่ ขนาด 10 - มีความสำคัญในด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะช่วยลดภาระน้ำเสียและยังช่วย ทำให้เกิดการงอกของแผ่นดินขยายออกไปสู่ทะเลอีกด้วย ความสำคัญของป่าชายเลนด้าน การอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลนั้น ไพโรจน์ (2534) สรุปไว้ดังนี้ ที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล เหนือพื้นดิน จะทำหน้าที่คล้ายตะแกรงธรรมชาติ คอยกลั่นกรองสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ที่มากับ กระแสน้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง และชายฝั่งทะเลสะอาดขึ้น ไม้ในป่าชายเลน นอกจากจะช่วยป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษแล้ว ยังช่วยทำให้ตะกอนที่ แขวนลอยมากับน้ำทับถมเกิดเป็นแผ่นดินงอกใหม่ เมื่อระยะเวลานาน ก็จะขยายออกไป ในทะเลเกิดเป็นหาดเลน อันเหมาะสมแก่การเกิดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน จากการสำรวจ ของกรมป่าไม้ในปี 2528 พบว่ามีหาดเลนงอกใหม่ประมาณ ธรรมราช เพชรบุรีและจังหวัดอื่น ๆ ได้มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของไม้ป่าชายเลน เช่น ในเรื่องการสกัด แทนนินเพื่อประโยชน์ในการทำหมึก ทำสี ทำยา ใช้ในการฟอกหนัง และใช้ทำกาวติดไม้ โดยพบว่าเปลือกไม้โกงกางใบเล็กมีแทนนิน 7 - 27% เปลือกไม้พัง กาหัวสุ่ม หรือประสักแดงประมาณ 41% เปลือกไม้โปรง ประมาณ 46% ชาวประมงนิยม ใช้ย้อมแห อวน นอกจากนี้ไม้ป่าชายเลนหลายชนิดมีคุณสมบัติสามารถนำมาแปรรูป เพื่อใช้ในการก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องมือเครื่องใช้ จากการทดลองศึกษา คุณสมบัติของไม้ป่าชายเลนบางชนิดของกองวิจัยผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ ปรากฏว่าไม้ ตะบูนดำ มีความแข็งแรง 1,314 กก./ตร.ซม. มีความเหนียว ความแข็งแรง 980 กก./ตร.ซม. มีความเหนียว 1.66 กก.-ม. ไม้โกงกางใบใหญ่มีความ แข็งแรง 1,931 กก./ตร.ซม. มีความเหนียว 6.01 กก.-ม. หงอนไก่ทะเล มีความแข็งแรง 1,038 กก./ตร.ซม. มีความเหนียว 4-9 กก.-ม. หลุมพอทะเล มีความแข็งแรง 935 กก./ตร.ซม. มีความเหนียว 0.72 กก.-ม. ซึ่งความแข็งแรงของไม้อยู่ในเกณฑ์ 1,000 กก./ตร.ซม. ใช้ในการก่อสร้างได้ดี (จิตต์, 2525) นอกจากนี้ยังมีผู้พบว่าลักษณะทางกายวิภาค เนื้อ ไม้ของไม้ป่าเลนมีความคล้ายคลึงกันมาก โดยเฉพาะในวงศ์ Rhizophoraceae รวมทั้ง คุณสมบัติของเนื้อไม้ จึงนำมาใช้แทนกันได้ ส่วนไม้ที่ยังนำมาใช้ประโยชน์กันน้อย ได้แก่ ไม้แสม ไม้ลำพู - ลำแพน ไม้ตาตุ่ม ตีนเป็ดทะเล และปอทะเล น่าจะได้ทดลองนำมาทำ เยื่อกระดาษ หรือทำไฟเบอร์บอร์ด สำหรับไม้ที่มีขนาดลำต้นโต และมี คุณสมบัติดีพอ ที่จะแปรรูปทำเป็นไม้ใช้ในการก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์ ได้แก่ ไม้ตะบูนดำ ตะบูนขาว หลุมพอทะเล โพทะเล ไม้เหล่านี้น่าจะได้มีการพิจารณาปลูกสร้างเป็นสวนป่าขึ้นมา เพื่อให้มีปริมาณมากเพียงพอที่จะใช้ป้อนโรงงานได สรุปการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน ปัญหาของป่าชายเลน ประเทศไทย มีแนวชายฝั่งทะเลยาวประมาณ ขึ้นอยู่ประมาณร้อยละ 36 ของความยาวชายฝั่งเท่านั้น ซึ่งเป็นป่าชายเลนที่สำรวจใน ปี 2504 ประมาณ โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ในปี 2532 ปรากฏว่าพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดเหลือ ประมาณ ฝั่งตะวันตก ประมาณ ทั้งหมด รองลงไปอยู่ในเขตภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก และภาคกลาง (หรือก้นอ่าวไทย) มีเนื้อที่ประมาณ คิดเป็นร้อยละ 11.47, ร้อยละ 9.46 และร้อยละ 0.33 ของ พื้นที่ป่าชายเลนทั้ง ประเทศตามลำดับ (ไพโรจน์, 2534) จากการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศ มีส่วนสำคัญทำให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลง กล่าวคือ เฉลี่ยปีละประมาณ ตัวในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการ เพาะเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีผลตอบแทนการลงทุนค่อนข้างสูง และมีระยะคืนทุน สั้นทำให้ธุรกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีเนื้อที่เลี้ยงเพิ่มขึ้นจาก 64.30 ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกทำลายทั้งหมด ส่วนการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน เพื่อกิจกรรมอื่น เช่น การทำเหมืองแร่ การทำนาเกลือ การทำเกษตรกรรม การขยายตัว ของชุมชน การสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า การสร้างโรงงาน อุตสาหกรรม และการ ขุดลอกร่องน้ำ มีการขยายตัวไม่มากนัก โดยในช่วงระหว่าง ปี 2523 - 2529 ประมาณ เนื้อที่ป่าชายเลนที่ถูกทำลาย ทั้งหมดจนถึงปี 2529 (ไพโรจน์, 2534) ยังทำให้เกิดการสูญเสีย และมีผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นอย่างมาก ซึ่งลักษณะของผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้นต่อป่าชายเลนนี้ จำแนกได้เป็น ประการใหญ่ ๆ คือ ซิเจนละลายในน้ำ ปริมาณธาตุอาหาร ความเค็ม สภาพทางอุทกวิทยา (การขึ้นลงของน้ำ ทะเลและปริมาณน้ำจืด) การตกตะกอน และน้ำขุ่นข้น ปริมาณสารพิษในน้ำ และการพัง ทลายของดิน เป็นต้น ลักษณะโครงสร้างของพืชและสัตว์น้ำ เช่น การสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงทำลายที่อยู่ (habitat) การเปลี่ยน แปลงห่วงโซ่อาหาร (food chain) ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศป่าชายเลนเอง และระบบ นิเวศประเภทอื่น ๆ ในบริเวณชายฝั่งและใกล้เคียงป่าเลน จนเกินขีดความสามารถของป่า ตลอดจนการอนุญาตให้เข้าตัดฟันป่าไม้ชายเลนมากเกินไป ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อป่าชายเลนโดยตรงในแง่ของการให้ผลผลิตและการบริการต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว และการพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย มักจะได้รับการพิจารณาว่ามีคุณค่าและได้รับการสนับสนุน ให้เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มมากขึ้น การแปรสภาพป่าชายเลน อาจก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบด้านเศรษฐกิจสังคมสำหรับ ชุมชนชายฝั่งทะเลได้ ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ยังทำให้พืชและสัตว์หลายชนิด ในป่าชายเลนต่างก็สูญพันธุ์ไปมากแล้ว แนวทางการแก้ไขปัญหา 1. เพื่อเป็นการหยุดยั้งการแผ่ขยายการทำลายป่าชายเลน จึงควรที่จะห้าม แทนได้ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนการให้บริการ ทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน การพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ป่าชายเลน จะต้องคำนึงถึงลักษณะการพึ่งพอ ของป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่กับการใช้ที่ดินเพื่อการเก็บกักน้ำ และลักษณะความสัมพันธ์ ที่สำคัญระหว่างป่าชายเลนกับผืนน้ำชายฝั่งที่อยู่ติดกัน ชายเลนหรือที่อยู่ติดกับป่าชายเลน โดยถือว่าระบบนิเวศป่าชายเลนนั้นเปลี่ยนแปลง ได้ง่าย และควรจะเน้นถึงความสำคัญของกระบวนการภายนอกที่เกี่ยวข้องกัลป์แหล่ง น้ำจืดและน้ำเค้ม และการผลิตสารอาหาร สมัยอยู่เสมอ และให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าชายเลน
ปัจจัยด้านการจัดการที่สำคัญ - น้ำจืดที่ไหลลงสู่น้ำทะเลทำให้ความเค็มเจือจางลง ระดับความเค็มของน้ำคือปัจจัย สำคัญที่จะกำหนดชนิด และความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากความเค็มจากน้ำทะเลจะแทรกซึมลงไปในพื้นที่ ซึ่งมีผลต่อการเติบโตของ ป่าชายเลน บ้านเรือน ของเสียจากการทำเกษตรกรรม การทับถมของตะกอนของดินและทราย และการแพร่กระจายของน้ำมัน มีผลต่อป่าชายเลนและทรัพยากรสิ่งมีชีวิตที่อาศัย อยู่ในน้ำ ทั้งสำหรับการใช้ประโยชน์ภายในบ้านเรือนและในทางการค้า ผลิตภัณฑ์จากป่า ชายเลนเป็นแหล่งวัสดุก่อสร้าง และเชื้อเพลิงที่สำคัญต่อการยังชีพของประชาชน ที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่ชายฝั่งทะเล สู่ทะเลให้คงอยู่ตลอดไป สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของป่าชายเลนมีความแตกต่างออกไปอย่างมากจากป่าชนิด อื่นๆ โดยเฉพาะดิน เนื่องจากมีสภาพเป็นดินเลนในที่ราบกว้างใหญ่ ดินเหล่านี้มีความอุดมสม บูรณ์สูงจากธาตุอาหารที่ไหลมาจากแหล่งต่างๆ เช่น จากการกันเซาะตามชายฝั่งและแหล่งน้ำ ลำธาร อีกส่วนหนึ่งมาจากซากพืชซากสัตว์ในบริเวณป่าชายเลนเอง โดยเฉพาะใบไม้ที่ร่วง หล่นทับถมกันเป็นจำนวนมาก แพลงค์ตอนพืชและสาหร่าย ส่วนสภาพความเค็มของน้ำบริเวณ นี้มีระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีน้ำจืดไหลลงมาปะปนกับน้ำทะเลจึงทำให้น้ำบริเวณนี้เป็นน้ำ กร่อย ระดับความเค็มของน้ำดังกล่าวยังเปลี่ยนแปลงไปได้ตามระดับน้ำที่ขึ้นลงเป็นประจำ กล่าวคือ ระดับความเค็มจะสูงขึ้นเมื่อน้ำขึ้น และในขณะที่อยู่ในช่วงน้ำเกิด น้ำทะเลจะสามารถ ไหลเข้าสู่ป่าชายเลนได้เป็นระยะทางไกลขึ้น ซึ่งเป็นไปในทางกลับกันกับน้ำลงและช่วงน้ำตาย ตามลำดับ ทางตรงต่อชนิดและการกระจายของพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ดังจะเห็นได้จากป่าชายเลนแหล่งต่างๆ ของโลก พันธุ์ไม้จะขึ้นอยู่ในลักษณะเป็นเขตแนวของแต่ละชนิด โดยมีแบบแผนแน่นอนจาก บริเวณฝั่งน้ำเข้าไปด้านในของป่า อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากป่าบกทั่วไป ทั้งนี้เพราะลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ป่าที่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกันตั้งแต่ ชายฝั่งถึงส่วนที่อยู่ลึกเข้าไป พันธุ์ไม้ต่างๆที่มีการปรับตัวมาจนขึ้นอยู่ได้ในเขตนี้ แม้จะปรับ ตัวมาในลักษณะคล้ายกัน แต่ยังคงมีความแตกต่างกันในบางส่วน ที่ทำให้สามารถเจริญและ แพร่กระจายอยู่ได้ในบริเวณต่างกันของป่าชายเลนโดยเฉพาะบริเวณที่มีสภาพเป็นดินเลนลึก มีน้ำท่วมถึงเสมอกับบริเวณที่เป็นดินเลนตื้น และมีน้ำท่วมถึงเป็นบางครั้งบางคราว พันธุ์ไม้ที่ จะขึ้นได้ในบริเวณที่เป็นดินเลนลึกจึงต้องมีรากค้ำจุนที่แข็งแรงเป็นจำนวนมาก รากเหล่านี้ ช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรงอยู่ได้ไม่โค่นล้มเมื่อถูกพายุพัดหรือคลื่นซัด ได้แก่ พันธุ์ไม้พวก โกงกาง ต้นอ่อนจึงสามารถเจริญเติบโตตั้งแต้อยู่บนต้นแม่จนกระทั่งพร้อมที่จะงอกรากและ เติบโตเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงทันทีที่ร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน ต่างไปจากสัตว์ในป่าบกทั่วไปเช่นกัน สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามเรือนยอดของพันธุ์ไม้ต่างๆในป่า ชายเลนเป็นพวกที่ไม่จำเป็นต้องมีการปรับตัวโดยเฉพาะ ได้แก่ นก แมลง และสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยน้ำนมชนิดต่างๆ เช่น ลิง หนูค้างคาว เสือปลา นาก และแมวป่า รวมทั้งสัตว์เลื้อย คลาน เช่น ตะกวด เต่า และงู เป็นต้น สัตว์พวกนี้อาจมีการอพยพไปมาจากป่าชายเลนสู่ ป่าข้างเคียงได้ แต่สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่าโดยอาศัยคืบคลานหรือเกาะหรือขุดรูอยู่ ตามพื้นดิน รวมทั้งพวกที่อยู่ในน้ำจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอดเนื่องจาก ต้องประสบกับสภาวะต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำหรือต้องอยู่ในสภาพไม่เหมาะ สมต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไป เช่น สภาวะที่ทำให้มีการสูญเสียน้ำออกจากลำตัว และ สภาพอุณหภูมิสูง สภาพที่มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำของดินเลน และการเปลี่ยน แปลงความเค็มของน้ำ สัตว์พวกนี้ได้แก่ หอย ปู กุ้ง หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน ไส้เดือนทะเล และครัสเตเชียน เป็นต้น นวนมากที่สามารถปรับตัวอยู่ได้และแพร่ลูกแพร่หลานเป็นจำนวนมาก ทำให้ป่าชายเลน มีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิดก็ได้อาศัยวางไข่และ อนุบาลตัวอ่อนในบริเวณนี้ โดยบางชนิดอาศัยอยู่จนครบวงจรของชีวิต เป็นแบบที่เริ่มต้นด้วยเศษอินทรียสาร (detritus) ซึ่งได้จากการสลายตัวของใบไม้ใน บริเวณป่าชายเลนโดยจุลินทรีย์ผู้ย่อยสลาย อินทรียวัตถุเหล่านี้จะเป็นอาหารของพวก กินเศษอินทรียวัตถุ เช่น แอมฟิพอด หอย กุ้ง ปู และตัวอ่อนของแมลงต่างๆ จากพื้น ก็จะถูกกินต่อๆกันไปตามลำดับขั้นของลูกโซ่อาหาร โครงสร้างของป่าชายเลน ... ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่ประกอบด้วยพืชพรรณและสัตว์นานาชนิด ดำรง ชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย หรือมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ พบทั่วไปตามที่ราบปากแม่น้ำ ชายฝั่งทะเล ทะเลสาบ และบริเวณรอบเกาะแก่งต่างๆ ที่และการท่วมถึงของน้ำทะเลมี 4 ชนิด คือ
Basin forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นติดกับผืนแผ่นดินใหญ่ (main land) ตามลำแม่น้ำเล็กๆ จะได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลน้อยมาก กล่าวคือ น้ำทะเลจะท่วม ถึงเฉพาะเวลาที่มีน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (extreme high tide) เท่านั้น และมีอิทธิพลจาก น้ำจืดมาก ลักษณะพันธุ์ไม้จะเป็นต้นเตี้ยและพวกเถาวัลย์
Riverine forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งแม่น้ำใหญ่ๆที่ติด ต่อกับอ่าว ทะเล และทะเลสาบ ป่าประเภทนี้ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลอยู่อย่างสม่ำ เสมอ คือจะมีกระแสน้ำท่วมอยู่เป็นประจำวัน โดยพันธุ์ไม้จะเจริญเติบโตค่อนข้าง สมบูรณ์ดี ใหญ่ หรือบริเวณชายฝั่งที่เป็นเกาะใหญ่ๆ ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลอยู่สม่ำเสมอ คือน้ำทะเลจะท่วมถึงอยู่เป็นประจำวัน พันธุ์ไม้ของป่าจะเจริญเติบโตได้ดี และเป็น ป่าที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ท่วมทั้งหมดเมื่อระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด การเจริญเติบโตของป่าชนิดนี้ต่ำ เนื่องจาก ได้รับอิทธิพลจากลมและน้ำทะเลมาก อีกประการหนึ่งคือ พวกปุ๋ยและธาตุอาหารใน ป่าชนิดนี้จะถูกชะไปโดยกระแสน้ำออกจากป่าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ การเจริญเติบโตของป่าชนิดนี้ไม่ดีและป่าจะมีลักษณะเตี้ย แพร่กระจายของพืชพันธุ์ที่มีลักษณะแบ่งออกเป็นแนวเขต (zonation) โดยพันธุ์ ไม้แต่ละชนิดจะขึ้นเป็นแนวเขตหรือเป็นโซน ค่อนข้างแน่นอน แต่การแบ่งเขตของ พืชในพื้นที่แต่ละแห่งจะแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพและ เคมีภาพของดิน ความเค็มของน้ำ การท่วมถึงของน้ำทะเล กระแลน้ำ การระบาย น้ำ และความเปียกชื้นของดิน เขตต่างๆของพันธุ์ไม้ชายเลนในแต่ละแห่งที่พบในประเทศไทย มีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งมีเขตของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนโดยสังเขป มีลำดับดังนี้ อย่างหนาแน่นและมีต้นโกงกางใบใหญ่ (R.mucronata) ขึ้นอยู่ทาง ด้านนอกริมฝั่งแม่น้ำ โดยมากมักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ส่วน แสม นั้นมักขึ้นแซม ตามชายป่าด้านนอกหรือถัดเข้าไปเพียงเล็กน้อย ซึ่งมองเห็นได้ชัดเพราะ มีต้นสูงใหญ่กว่าโกงกางนอกจากนี้ยังมี ประสัก และ พังกาหัวสุม ขึ้นแทรก อยู่ทางด้านในของเขตนี้ ซึ่งอยู่ในระยะประมาณ 50- และในบางแห่งพบต้น จาก (Nypa) ขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ ปะปนด้วย โดย เฉพาะในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย และมีต้นฝาดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น บางบริเวณอาจมี ลำแพน แทรกอยู่ด้วย อยู่ถัดจากป่าตะบูนและโปรงขึ้นไป โดยมีต้น ฝาด ขึ้นอยู่หนาแน่นปะปนกับ ต้น ตาตุ่ม โดยบางแห่งจะมีต้น ลำแพน ขึ้นแทรกอยู่ด้วย ที่น้ำท่วมถึงในช่วงน้ำเกิดหรือท่วมไม่ถึง ติดต่อกับป่าบกหรือทุ่งนา ขอบคุณข้อมูลจากอินเตอร์เน็ท ..เด็กอาสาทุ่งตะโก.. 17 สิงหาคม 2552
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ดอกกล้วยไม้นานาพันธุ์ | ||
![]() |
||
ดอกกล้วยไม้ ประดับป่า มนุสสา ยังปีนป่าย ขึ้นเอามาจนได้ เพื่อเลี้ยงไว้ ชมความงาม |
||
View All ![]() |
ลมพัดผ่านท้องทุ่ง ฟุ้งเกสร | ||
![]() |
||
ลมพัด ผ่านท้องทุ่ง เกสรฟุ้ง หอมนาสา สายลม แผ่วพัดมา หอบไอเย็น คลุมผิวดิน เทือกเขา และต้นไม้ ผลิตฝนให้ กระแสสินธุ์ โบกลม พัดไหลริน อาบพื้นดิน ชุ่มฉ่ำใจ เสียงนก กู่ร้องขาน สุขสำราญ ป่าไม้ไหว แ |
||
View All ![]() |
<< | สิงหาคม 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |