การฝึกความทนทานสำหรับวอลเลย์บอล (Endurance Training) การฝึกความทนทานเป็นการฝึกระบบการใช้ออกซิเจน (Aerobic) ของนักกีฬา ซึ่งในการแข่งขันการเล่นในแต่ละคะแนนจะใช้เวลาประมาณ 4 -10 วินาที และพักระหว่างคะแนนประมาณ 10 – 16 วินาที ดังนั้นการฝึกแบบดั้งเดิมเช่น การวิ่งระยะไกลๆ อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับกีฬาวอลเลย์บอล เราอาจใช้การฝึก Plyometrics เช่น การกระโดด (Low impact Jumps) แบบฝึก Ladder Drills (สะพานลิง) หรือแบบฝึก Dot Drills มาใช้ในการฝึกซ้อมระบบ Aerobic ของนักกีฬา โดยปฏิบัติครั้งละ 10 – 15 วินาที โดยพักในแต่ละยกประมาณ 10 – 15 วินาที ซึ่งการฝึกลักษณะนี้ จะทำให้นักกีฬาใช้ระดับพลังงานใกล้เคียงกับในการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนอาจใช้การเคลื่อนที่ภายในสนามวอลเลย์บอลต่างเช่น วิ่งเร็วสั้นๆ เคลื่อนที่หลายๆ ทิศทาง หลายๆ แบบ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในการแข่งขัน หรือใช้แบบฝึก 60 seconds Drill (วิ่งแตะเส้น 60 วินาที) นอกจากนี้การใช้ทักษะการเล่นเช่น การรับบอลหรือตบบอล มาประยุกต์ใช้เพื่อฝึกระบบ Aerobic ของนักกีฬาด้วยก็ได้
การฝึกความแข็งแรงสูงสุดสำหรับวอลเลย์บอล (Maximal Strength Training) ความแข็งแรงเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญสำหรับนักกีฬา วิธีการฝึกความแข็งแรงที่เป็นที่ยอมรับกันว่าได้ผลดีคือ การฝึกโดยใช้แรงต้าน เช่น การฝึกด้วยน้ำหนัก Weight Training และผลของการฝึกความแข็งแรงยังแบ่งได้หลายประเภท เช่น การเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ (Hypertrophy) ความแข็งแรงสูงสุด (Maximal Strength) พลังระเบิด (Explosive Power) ความแข็งแรงแบบทนทาน (Strength Endurance) ด้วยเหตุนี้ผู้ฝึกสอนจึงควรศึกษาวิธีการฝึกและออกแบบโปรแกรมการฝึก เพื่อให้ได้ผลตามความต้องการตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการสำหรับการแข่งขันซึ่งธรรมชาติของวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ใช้แรงระเบิดและความเร็วสูง นักกีฬาวอลเลย์บอลจึงต้องการพลัง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความเร็วมากที่สุด
การออกแบบโปรแกรมการฝึกความแข็งแรงสูงสุด การฝึกเพื่อพัฒนาความแข็งแรงสูงสุดของนักกีฬาจะต้องใช้น้ำหนักในการฝึก 85% ของความสามารถสูงสุดที่นักกีฬาสามารถปฏิบัติได้ (1RM) โดยจำนวนครั้งที่ปฏิบัติ 1 – 5 ครั้งต่อยก การพักระหว่างยกจะใช้เวลาประมาณ 3 – 5 นาทีเพื่อให้กล้ามเนื้อฟื้นตัว (Recovery) โปรแกรมการสำหรับการพัฒนาความแข็งแรงสูงสุด ควรเป็นไปตามระยะเวลาที่เหมาะสมในช่วงก่อนฤดูการแข่งขันสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ในช่วงฤดูการแข่งขันสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง
: ข้อแนะนำการฝึก Weight Training เพื่อพัฒนาความแข็งแรงสูงสุด
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ติดตามต่อตอนที่ 4 ครับ การฝึกพลังระเบิดโดยใช้ Plyometrics
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
Serve Reception | ||
![]() |
||
การรับลูกเสริฟที่ลอยต่ำ |
||
View All ![]() |
<< | ตุลาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |