.. เรื่องราวของ “คนแคระ” (Dwarf) ที่พบเห็นเป็นรูปศิลปะงานปูนปั้นบริเวณรั้วกำแพงแก้ว ล้อมพระเจดีย์พระมหาธรรมราชาลิไท (?) ที่วัดมหาธาตุสุโขทัย เป็นอิทธิพลทางศิลปะจากลังกาตะวันตก (โคลัมโป – คัมโปละ – ศิริวัฒนปุรี (แคนดี้) ) ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 . . ส่วน “มนุษย์นาค” ผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงามแก่สาธุชนนั้น ปรากฏเป็นงานศิลปะปูนปั้นที่วัดเจดีย์สี่ห้อง กลุ่มพระอารามทางทิศใต้ของเมืองเก่าสุโขทัย ที่น่าจะมีอายุไม่มากไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 21 .. . ปกรณัมเริ่มแรกที่บอกเล่าเรื่องราว ของ “คนแคระ” เริ่มต้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 7 – 8 ในช่วงราชวงศ์คุปตะของอินเดียเหนือ โดยเล่าในเทพปกรณัมว่าคนแคระนั้น ก็คือบริวารของเทพเจ้าฮินดู พระนามว่า “ท้าวกุเวร” (Kuwara) ที่มีรูปร่างอวบอ้วนพุงพลุ้ย พระพักตร์กลม พระหัตถ์ถือผลมะนาวและพังพอน มักมีหม้อเงินหม้อทองอยู่ด้านข้าง .. ท้าวกุเวรเป็นเทพ “ทิศปาลก” ผู้รักษาทิศเหนือ เป็นราชาแห่งยักษ์ที่ได้บำเพ็ญตบะญาณเป็นเวลาหลายพันปี จนพระพรหมทรงเมตตา ประทานพรให้เป็นเทพแห่งความร่ำรวยมั่งคั่ง (ผู้รักษาทรัพย์ในดิน) แต่ในคติทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน – วัชรยาน ท้าวกุเวรจะมีพระนามว่า “ท้าวชมภละ (ชุมพล) หรือ ปัญจิกะ” ทำหน้าที่เป็นพระโพธิสัตว์ธรรมบาล คอยปราบปรามปีศาจและยักษ์มารต่าง ๆ ซึ่งเป็นศัตรูต่อพุทธศาสนา และทรงเป็นโลกบาลมีชื่อว่า “เวสสุวัณ (เวสสุวรรณ)” หรือ “ไวศรวัณ” ทำหน้าที่ปกป้องทิศเหนือ บนยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และคอยเฝ้าดูแลทางเข้าสวรรค์ดินแดนสุขาวดี .. พุทธศาสนาในยุค "อนุราธปุระ" ของลังกา (ราวพุทธศตวรรษที่ 8) ได้นำเอารูปของท้าวกุเวรและคนแคระบริวาร มาใช้เป็น “ทวารบาล” ของศาสนสถาน โดยประดับรูปไว้ตรงปากบันไดหรือทับหลังประตู โดยมีนัยยะถึงการอำนวยโชคลาภสักการะ ให้พรอันได้แก่ความร่ำรวยและมั่งคั่ง แก่สาธุชนที่มาทำบุญยังศาสนสถาน .. . กาลผ่านไปได้ไม่นานนัก รูปของคนแคระบริวารท้าวกุเวร (ทางซ้ายมือสวมหมวกทางดอกบัว มีนามว่า “ปัทมนิธิ” ส่วนทางขวาสวมหอยสังข์ มีนามว่า “สังขนิธิ”) ถูกนำมาใช้เป็นทวารบาล และยังหน้าที่เป็นผู้อำนวยโชคลาภสักการะ ในฐานะบริวารแห่งความมั่งคั่ง โดยไม่เอารูปของท้าวกุเวร – ชมภลมาใช้ (นัยว่าพุทธศาสนาในยุคต่อมาไม่เอาเทพเจ้าฮินดู แต่สร้างเรื่องราวของตนขึ้นมาใหม่แต่ยังคล้องจองกับเรื่องราวของความร่ำรวย) . . อีกทั้งยังนิยมใช้รูปของ “มนุษย์นาค” ผู้ค้ำจุนพระพุทธศาสนามหายาน ที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะราชวงศ์วากาฏกะในอินเดีย จากพุทธประวัติตอน แสดงพระสัทธรรมปุณฑริกสูตรแก่พระมหาโพธิสัตว์ 80,000 องค์ บนยอดเขาคิชกูฎ ซึ่งมีเรื่องราวของมนุษย์ (พญา – ราชา) แห่งนาค นามว่า “นันทะ” และ “อุปนันทะ” ผู้ขึ้นมาจากบาดาล ยกก้านดอกบัวรองพระบาทขึ้นสู่ยอดเขา .. มนุษย์นาค ทั้งราชานันทะและอุปนันทะ จึงน่าจะเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่สร้างให้เกิดรูปประติมากรรมของทวารบาลมนุษย์นาคขึ้นในศิลปะลังกา ผสมผสานกับคติความเชื่อเรื่องหม้อ “ปูรณะฆฏะ” หรือ “ปูรณะกลศ” ที่มีความหมายถึง “หม้อน้ำที่ปริ่มด้วยความเจริญงอกงามไม่สิ้นสุด” เป็นลวดลายสัญลักษณ์มงคลที่หมายถึง “ความอุดมสมบูรณ์” ปรากฏในงานช่างทั้งของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพุทธ มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 – 4 .. . รูปลักษณ์ทวารบาล “มนุษย์นาค ผู้เทินหม้อปูรณะฆฏะ และคนแคระ” เป็นความนิยมในยุคศิลปะอนุราธปุระ – โปโลนนารูวะของลังกา ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 9 -13 โดยมีเรื่องเล่าปกรณัมกำกับเกี่ยวกับมนุษย์นาคผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา และคนแคระผู้ชดใช้บาปกรรมของตนด้วยความบริสุทธิ์ใจ นั้น จะนำพามาซึ่งความเจริญ ความอุดมสมบูรณ์ อำนวยโชคลาภสักการะ ให้แก่ผู้มากระทำการบูชา ทำนุบำรุงศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ เราจึงพบรูปสลักของมนุษย์นาคและคนแคระ ในตำแหน่งของทวารบาลข้างหน้าบันไดทางขึ้นศาสนสถานสำคัญในลังกา . คติผู้เป็นทวารบาลในลังกา อาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง อย่างในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ทวารบาลลังกาก็มักจะเอาเทพเจ้าชั้นสูงของฮินดู อย่าง พระสกันทะกุมาร (ขัตตุคาม) พระราม พระวิษณุ พระพรหม นิรฤติ (เทพแห่งความตาย) มาเป็นทวารบาลผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา ประดับประดาตามศาสนสถานสำคัญ . ส่วนคติ ผู้แบกยกพระเจดีย์นั้น มักจะมีการเข้าใจผิดในงานวิชาการไทย ที่พยายามโยงให้คนแคระ ในคติลังกาตะวันตกยุคหลัง ไปเป็นผู้แบกสถูปโบราณในศิลปะทวารวดี (ไม่ปรากฏในลังกา ในช่วงเวลาเดียวกัน) ยักษ์แบกไม่ใช่คนแคระ ยักษ์แบกจะสืบทอดต่อมาจากเทพไททัน บุตรของโครโนส นาม "แอตลาส" สืบทอดมาจากในอินเดียเหนือ – คันธาระ .. ส่วนคนแคระของลังกานั้นเป็นบริวารของท้าวกุเวร หรือผู้ตักเตือนให้ “ตระหนักรู้” ในความผิดบาป เพราะเคยกระทำบาปแต่สำนึกตนมารับใช้พระพุทธศาสนา จึงอยู่ในร่างของคนผู้มีร่างกายไม่สมบูรณ์ แต่กลับปรากฏทรัพย์ศฤงคารมากมายประดับประดาด้วยความสุขที่ได้กลับตนกลับใจ ซึ่งอิทธิพลของคนแคระได้ส่งรูปงานศิลปะมายังสุโขทัยและเชียงใหม่ โดยตรง . ส่วนศิลปะของรูปมนุษย์นาคนั้น มาพบที่ “วัดเจดีย์สี่ห้อง” นอกเมืองโบราณสุโขทัย ที่ดูเปลี่ยนแปลงไปจากคติ/ศิลปะต้นทางในลังกาอย่างชัดเจน คือกลายมาเป็นมนุษย์นาค 4 กร ซึ่งอาจหมายถึงพระโพธิสัตว์หรือการเลียนแบบเทพเจ้าของฮินดู เทพพนม ตำแหน่งการจัดวางที่แตกต่างไปจากเดิมในลังกา รวมทั้งเครื่องแต่งกาย ที่ดูล้ำสมัยไปอย่างมาก ทั้งการปรากฏลายลูกประคำอัญมณี การผูกทิ้งชายผ้าหางปลาแบบเขมร รวมถึงรูปสิงห์ยกขาหน้าขึ้นขู่เตรียมกระโจน ที่ไปวางนั่งอยู่บนหัวช้างที่หมอบราบกับพื้นก็ไม่เคยมีที่ลังกาแต่อย่างใด . . ส่วนสำคัญ คือ การไม่ปรากฏรูปของ “คนแคระ” ในฐานะบริวารแห่งมนุษย์นาค ประกอบร่วมอย่างเช่นความนิยมในลังกา อันเป็นต้นแบบสำคัญ อีกทั้งรูปของสิงห์ในท่าทะยานกระโจน ก็ไม่ใช่เป็นความนิยมในงานช่างศิลปะลังกา...เช่นกัน .. . ประมาณว่า ท่านั่งดูไม่สงบเสงี่ยม ทำท่าขู่สาธุชนผู้มาสักการะมากไป !!! ... “คนแคระ” จากคติฮินดู - “มนุษย์นาค” (นันทะและอุปนันทะ) จากคติมหายาน และ “หม้อปูรณะฆฏะ” จากยุคเก่าแก่จึงได้กลายมาเป็นเรื่องราวเดียวกัน คือเป็นทั้ง “ทวารบาล” (Guardian) ผู้ปกป้องและค้ำจุนพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังทำหน้าที่อวยพร ให้โชคลาภสักการะ ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่งแก่ผู้มาบูชาศาสนสถาน ( ทำท่ายื่น - ทูน หม้อปูรณะฆฏะ ให้กับสาธุชน) โดยไม่มีที่สิ้นสุด อีกหน้าที่หนึ่ง ... ส่วน “คนแคระ” ผู้แบกยก (ในท่าร่าเริงสนุกสนาน) ไม่หนักอึ้งเช่นเดียวกับคติยักษ์แบกจากยุคคันธาระ ที่ประดับฐานของศาสนสถานลังกานั้น ก็เล่ากันว่า นอกเหนือจากบริวารของท้าวกุเวร – ชมภละ แล้ว คนแคระเหล่านี้ ก็คือ “ผู้ผิดบาปในชาติที่แล้ว” ประสงค์จะชดใช้บาปกรรมของตนด้วยความสำนึกและบริสุทธิ์ใจ ถึงจะรูปร่างไม่สวยงาม แต่ก็มากมีด้วยสมบัติ อาภรณ์และ “ความสุข” (รูปคนแคระใส่เครื่องประดับ - มีแต่รอยยิ้ม) คนแคระแบบถูกนำมาใช้แบกยกศาสนสถาน บนชุดลวดบัวของฐาน อยู่เหนือรูปสิงห์และช้าง หรือขั้นบันไดทางขึ้น . . . จากยุคโปโลนนารุวะจนถึงยุคคัมโปละ – นิกายสิงหลภิกขุ ในลังกาตะวันตก รูปศิลปะมนุษย์นาคและคนแคระ ได้ส่งอิทธิพลมายังสุโขทัย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา แต่กลับไม่ปรากฏการใช้รูปของคนแคระคู่อยู่ร่วมกับมนุษย์นาคแต่อย่างใด คงพบเป็นคนแคระประดับท้องไม้บนลวดบัวของชุดฐานกำแพงแก้ว ที่วัดมหาธาตุสุโขทัย สลับกับรูปช้างและสิงห์ในท่าทางที่แปลกตาไปจากต้นแบบในลังกา .. ปูนปั้น “คนแคระ” แท้ ๆ ที่เหลืออยู่ไม่มากนักที่กำแพงแก้ว วัดมหาธาตุสุโขทัยแห่งนี้ จึงควรนับว่าเป็นศิลปะลังกาตะวันตกยุคแรกจากนิกายสิงหลภิกขุ – กัลยาณีสีมา (ปลายพุทธศตวรรษที่ 20) ที่ยังหลงเหลืออยู่มาจนถึงในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะยังรักษา “ขนบเก่าแก่” ด้วยอาการแบกยกอันมี “รอยยิ้ม” สนุกสนาน (เพราะได้ทำความดีชดใช้กรรม) หันหน้าไปเล่นกับเพื่อนคนแคระด้านข้างแล้ว ยังแต่งอาภรณ์ประดับประดาเต็มสูบ คงกลิ่นอายแห่งศิลปะลังกาในอดีต ไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ . .. ได้ใจไปเลยนะ ตะเอง .. .. |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
สำรวจบันทายฉมาร์ - บันทายทัพ | ||
![]() |
||
พาคณะ ร่วมเดินทางสำรวจ ถ่ายภาพ- เรียนรู้ ปราสาทบันทายทัพและปราสาทบันทายฉมาร์ ระหว่างวันที่ 4 6 พฤษภาคม 2560 ผู้ร่วมเดินทางรวม 18 คน |
||
View All ![]() |
งานวันผู้ไทโลก ครั้งที่ 8 | ||
![]() |
||
งานวันผู้ไทโลก เท่อที่ 8 "พระธาตุศรีมงคลงามสง่า บูซาเจ้าปู่มเหศักดิ์ โฮมฮักผู้ไทโลก" วันที่ 4 - 6 เมษายน 2560 ณ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร |
||
View All ![]() |
<< | กรกฎาคม 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |