อำนาจหน้าที่ โครงสร้างการบริหารและบทบาทหน้าที่ของข้าราชการท้องถิ่น (อบจ.)
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
บทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีเขตพื้นที่ดูแลรับผิดชอบอย่างกว้างขวาง และมีภารกิจหลักและภารกิจรองที่จะดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ ดังนี้ 1. ภารกิจหลัก
2. ภารกิจรอง
3. ภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
โครงสร้างการบริหารและบทบาทหน้าที่ของข้าราชการท้องถิ่น (อบจ.)สำหรับเจ้าหน้าที่อื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ ข้าราชการส่วนจังหวัด ซึ่งรับเงินเดือนจากงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้าราชการส่วนจังหวัดมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา และมีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารองจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในส่วนโครงสร้างการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการจังหวัด มีดังนี้ 1. สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปของ อบจ. และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 ฝ่าย ได้แก่
2. กองช่างรับผิดชอบทางด้านงานช่าง กองช่างมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านช่าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสำรวจ ออกแบบ การประมาณการ การควบคุม การบำรุงรักษา การปฏิบัติงานของเครื่องจักรกล การจัดทำรายการค่าใช้จ่าย และการประมาณการโครงการตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย 3. กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กองการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการจัดการศึกษาตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยครอบคลุมการจัดการศึกษาในสังกัด การสนับสนุน ส่งเสริมการศึกษาในระบบ และนอกระบบ ตั้งแต่ระดับ เด็กเล็ก เยาวชน/ประชาชนทั่วไป และการอนุรักษ์สืบสานเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น การศึกษาวิจัย รวมทั้งการอนุรักษ์ส่งเสริมและสืบสานทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น 4. กองกิจการสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานของกิจการสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดย การติดตามผลการปฏิบัติตามมติของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามหลักการปกครองท้องถิ่น ภารกิจสำคัญที่ได้รับมอบหมายตามนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 5. กองแผนและงบประมาณ กองแผนและงบประมาณ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานวิเคราะห์นโยบายและแผนงาน การจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด การประมาณการจัดทำแผนพัฒนา การจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย การติดตามและประเมินผล รวมทั้งงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาของภาคส่วนประชาสังคม และสนับสนุนการพัฒนาตามแนวทางของแผนชุมชน 6. กองคลัง กองคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับด้านการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ครอบคลุมตั้งแต่ การจัดหารายได้ การเบิกจ่าย ควบคุมการรับจ่าย 7. กองส่งเสริมคุณภาพชีวิต กองส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน/หมู่บ้าน การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน การเสริมสร้างอาชีพ และการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเสริมสร้างและเติมเต็มภูมิความรู้ให้กับชุมชน/หมู่บ้าน ให้ดำรงอยู่ภายใต้บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา 8. กองการเจ้าหน้าที่ กองการเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานด้านบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นทรัพยากรทางการบริหารที่สำคัญ โดยครอบคลุมตั้งแต่การสรรหา การคัดเลือกบุคลากรขององค์กร การพัฒนาเสริมสร้างทักษะ ศักยภาพบุคลากร รวมทั้งการธำรง รักษาบุคลากรขององค์กร 9. กองพัสดุและทรัพย์สิน กองพัสดุและทรัพย์สิน มีหน้าที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการพัสดุขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตั้งแต่การจัดหาพัสดุ การควบคุมดูแลรักษาพัสดุและทรัพย์สิน การพัฒนาการบริการด้านพัสดุและทรัพย์สิน และงานที่เกี่ยวข้อง 10. กองป้องกันและบันเทาสาธารณภัย มีหน้าที่และความรับผิดชอบด้านการป้องกัน เฝ้าระวังสาธารณภัย หรือภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย ภัยอากาศหนาว ภัยแล้ง แผ่นดินไหว ดินโคลนถล่ม และปฏิบัติราชการครอบคลุมการสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย หรือภัยธรรมชาติ รวมทั้งประสาน สนับสนุนส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่จังหวัด การเตรียมตัวสอบบรรจุเป็นข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดหลักเกณฑ์การสอบบรรจุเข้ารับราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นการสอบท้องถิ่นหรือสอบบรรจุรับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นการเปิดรับในตำแหน่งว่างหรือต้องการบุคลากรในตำแหน่งนั้น ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งหลักเกณฑ์การสอบอาจเปลี่ยนแปลงหรือแตกต่างกันไป สำหรับการเตรียมตัวสอบข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่
การสอบท้องถิ่นต้องสอบ ก.พ. ภาค ก.ก่อนหรือไม่การสอบท้องถิ่นหรือสอบบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ด้านการเตรียมตัวสอบ ไม่จำเป็นต้องสอบผ่าน ก.พ. ภาค ก. มาก่อน เพราะเป็นการสอบคนละส่วน ข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องสอบผ่าน ก.พ.ภาค ก มาก่อนจึงจะสามารถสอบภาค ข และภาค ค.ส่วนข้าราชการท้องถิ่นสามารถสอบภาค ข.และภาค ค.ตามที่ท้องถิ่นเปิดสอบได้ แล้วจึงสอบ ก.พ.พิเศษ หรือสอบภาค ก.ภายหลัง หรืออาจสอบพร้อมกันทั้งภาค ก.และภาค ข ส่วนภาค ค.เมื่อสอบผ่านภาค ก.และข แล้วอาจเรียกสอบในภายหลัง การสอบท้องถิ่น (อบจ.) ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลการเปิดรับสมัครได้จากสื่อต่าง ๆ หรือจากเว็บไซต์รับสมัครงาน หรือ เว็บประชาสัมพันธ์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ๆ ปัจจุบันการสมัครสอบมีความสะดวกสบายเพราะสามารถยื่นใบสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ |
<< | มกราคม 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |