องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานภาครัฐที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เพราะเป็นองค์กรที่กระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางไปให้ ประชาชนในท้องถิ่นดำเนินการเองภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้และเข้าใจถึงวิธีการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย รวมถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลอยู่ในท้องถิ่น ที่สามารสอบบรรจุเข้ารับราชการตามขั้นตอน ผ่าน ก.พ.กับท้องถิ่น หรือสอบภาค ข.และภาค ค.ตามประกาศรับสมัคร แล้วเปิดสอบ ก.พ.พิเศษ เพื่อสอบภาค ก.ภายหลัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึงการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการปกครองที่ยึดหลักการกระจายอำนาจเพื่อประโยชน์ของรัฐและท้องถิ่น เน้นผลประโยชน์ของท้องถิ่นโดยตรง ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีโอกาสเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จึงหมายถึง หน่วยงานของราชการที่รัฐกระจายอำนาจลงมาสู่ระดับท้องถิ่น การดำเนินงานเป็นอิสระจากส่วนกลาง เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการกิจการต่าง ๆ ในท้องถิ่นของตน โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2534 มาตรา 70 ได้แบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หมายถึง ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา รวมทั้งข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน้าที่ความรับผิดชอบ ของข้าราชการท้องถิ่นข้าราชการท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และการปกครองรูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการตามนโยบายและแผนงานตามที่นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนด หน้าที่ความรับผิดชอบ ของข้าราชการท้องถิ่นแต่ละตำแหน่งจะระบุเอาไว้ในประกาศรับสมัครของหน่วยงานหรือองค์กรท้องถิ่นว่ามาตรฐานของตำแหน่งนั้นจะต้องใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารงาน การดำเนินการ การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และการปฏิบัติงานอย่างไร เมื่อสอบผ่านตามขั้นตอนของก.พ.กับท้องถิ่น หรือสอบภาค ข.ภาค ค.และ ก.พ.พิเศษ ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นแล้วจะมีการกำหนดลักษณะงานและความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
โครงสร้างตำแหน่งของข้าราชการท้องถิ่นสำหรับการกำหนดตำแหน่งของข้าราชการท้องถิ่น โครงสร้างระดับชั้นสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
สวัสดิการของข้าราชการท้องถิ่นสวัสดิการ คือ ค่าตอบแทนที่ทางราชการจัดให้แก่ราชการในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์กร เพื่อช่วยให้มีความมั่นคงในชีวิต ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผล โดยสวัสดิการหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นของข้าราชการท้องถิ่นที่จะได้รับเช่นเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนและเป็นไปตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่
การสอบบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานภาครัฐที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด และนอกจากมี บทบาทหน้าที่ในการบริหารนโยบายสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นแล้ว ยังมีหน้าที่ในการสรรหา บรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการท้องถิ่น สำหรับการสมัครสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่น มีขั้นตอนเช่นเดียวกับการสอบบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญทั่วไป แต่อาจมีบางกรณีที่หน่วยงานหรือองค์กรท้องถิ่น เปิดสอบเพื่อรับสมัครบุคคลที่มีความรู้ความสามารถตามตำแหน่งที่ต้องการ โดยคุณสมบัติของผู้สมัครสอบไม่จำเป็นต้องสอบ ก.พ.ภาค ก.ให้ได้ก่อน แต่จะต้องสอบผ่านภาค ข.และภาค ค.จากส่วนกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้ก่อน แล้ว ก.พ. กับ ท้องถิ่น จะดำเนินการเปิดสอบ ก.พ. พิเศษ หรือสอบภาค ก.ภายหลัง ควรเตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องการสอบเป็นข้าราชการท้องถิ่น
การสอบบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการพลเรือนสามัญ ด้านการเตรียมตัวสอบต่างกันที่ ก.พ.กับท้องถิ่น ข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องสอบผ่าน ก.พ.ภาค ก มาก่อนจึงจะสามารถสอบภาค ข และภาค ค.ส่วนข้าราชการท้องถิ่นสามารถสอบภาค ข.และภาค ค.ตามที่ท้องถิ่นเปิดสอบได้ แล้วจึงสอบ ก.พ.พิเศษ หรือสอบภาค ก.ภายหลัง |
<< | กุมภาพันธ์ 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 |