ปราสาทตาเล็งธรรมศาลาสู่อโรคยาศาลที่ปราสาททามจาน พฤษภาคม 2549 ฤดูแห่งการทำนา น้ำท่าเริ่มนองทุ่ง การเดินทางจากรุงเทพฯ สู่ภูมิลำเนาเป้าหมายในครั้งนี้เป็นผลพลอยได้จากการว่างเว้นจากการเรียนจึงถือโอกาสนี้เดินทางกลับสู่พื้นถิ่นดินแดนแห่งบ้านเกิดอันเป็นดินแดนที่เคยมีความเจริญรุ่งเรื่องแห่งอารยธรรมขอมมาก่อน เป้าหมายในครั้งนี้ผมมีความคิดที่จะต้องเดินทางไปชมแหล่งอารยธรรมขอมสองแห่งซึ่งในครั้งสมัยโบราณสถานที่แห่งนี้มีความสำคัญกับคนในพื้นที่แถบนี้ ซึ่งโบราณสถานสองแห่งนี้เป็นปราสาทหินของขอมสร้างขึ้นในยุคสมัย คติความเชื่อที่ต่างกัน มีความสำคัญในทั้งทางด้านการใช้งาน ความงามทางศิลปะและสถาปัตยกรรม ซึ่งกระผมได้เก็บภาพโบราณปราสาทหินสองแห่งนี้บางส่วนมาให้ได้ชม ปราสาทหินสองแห่งนี้คือ ปราสาทตาเล็ง และปราสาทบ้านทามจาน จุดหมายแรกผมได้นั่งรถในเส้นทางที่จะวิ่งเข้าสู่อำเภอปรางค์กู่ซึ่งเป็นเส้นทางที่จะผ่านหมู่บ้านทามจานอันเป็นที่ตั้งของปราสาททามจาน ในตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ รูปแบบการราย ป้ายบอกรายระเอียดคร่าวๆทางเข้าด้านทิสตะวันตก ละเอียดโครงสร้างต่างๆนับว่ายังสมบูรณ์ นับตั้งแต่ตัวปรางค์ประธานยอดปรางค์ยังสมบูรณ์สวยงาม ปรางค์ปราสาททามจาน มีมุขทางเข้าสู่ตัวปราสาทแต่พังทลายปิดปากทางเข้า มุขนี้มีผนังสองด้านทำเป็นหน้าต่างเล็กๆ มุขโฆปุระทางเข้าสู่ภายใน และมุขทางเข้าเชื่อมเป็นกำแพงแก้วเตี้ยๆล้อมรอบตัวปรางค์ประธาน ถ้าจำทิศไม่ผิดเข้าใจว่ากำแพงแก้วทางทิศตะวันตกยังคงสมบูรณ์มองเป็นเป็นรูปร่างที่สวยงาม และบริเวณชิดกำแพงแก้วภายในด้านซ้ายมือเมื่อหันหน้าเข้าตัวปรางค์ คล้ายๆว่าเป็นฐานหรือตัวอาคารอะไรสักอย่างมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเต็ม ซากอาคารภายในบริเวณมุมกำแพงแก้วทางทิศตะวันตกใกล้โฆปุระทางเข้า มีบารายอยู่ทางด้านนอกกำแพงแก้วทางด้านขวามือ บาราย สภาพโดยรวมแล้ววัสดุที่ใช้สร้างส่วนใหญ่เป็นศิลาแลงทั้งสิ้นไม่พบลายจำลักรายละเอียดประดับตกแต่งอะไรที่สำคัญนอกเหนือจากทับหลังที่สลักจากศิลาทรายประดับปรางค์ทางทิศตะวันตกที่จำลักเป็นรุปบุคคลในท่านั่งที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ทับหลังจำลักรูปบุคคลที่ยังไม่เเล้วเสร็จ บริเวณปราสาทเย็นชื้นร่มรื่นไปด้วยหญ้าและต้นไม้ปกคลุมเขียวขจีอันเป็นช่วงฤดูฝน ปราสาททามจานแห่งนี้สันนิษฐานน่าจะเป็นอโรคยาศาลตามคติความเชื่อแบบพุทธมหายานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ศิลปะแบบบายนโดยช่างท้องถิ่นและน่าจะเป็นหนึ่งในอโรคยาศาลที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงให้สร้างขึ้นในเส้นทางจาริกบุญเพื่อไปยังปราสาทเขาพระวิหาร หลังจากยลความงามของปราสาททามจานเสร็จผมได้เก็บความประทับใจจากภาพถ่ายและอำลาสถานที่ศักสิทธิ์สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั่งรถวกกลับไปสู่เส้นทางรอยต่อระหว่างอำเภอปรางค์กู่และอำเภอขุขันธ์โดยมุ่งหน้าเข้าสู่พื้นที่เขตอำเภอขุขันธ์เพื่อมุ่งไปยังที่ตั้งของปราสาทตาเล็งอันเป้าหมายแห่งสุดท้าย ซึ่งเส้นทางที่ผ่านบางช่วงบางตอนมีทั้งราบรื่นและบางที่สาหัสสากัณฑ์แต่พอพ้นเส้นทางนี้ไปเข้าสู่เขตหมู่บ้านใกล้เคียงที่ตั้งของปราสาทก็เริ่มดีขึ้น ผมผ่านวัดลมพูเห็นความโดดเด่นซุ้มประตูเลียนแบบศิลปะขอมแบบยุคสมัยใหม่ จากนั้นก็วิ่งตรงสู่บ้านปราสาท ตำบลกันทรารมณ์ อำเภอขุขัขนธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เข้าสู่ที่ตั้งของตัวปราสาทตาเล็ง ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ปราสาทหินแห่งนี้ ป้ายบอกรายละเอียดอย่างคร่าวๆที่ปราสาทตาเล็ง ประตูหลอกของตัวปราสาททางทิศเหนือ ลายจำลักที่โคนเสาประตูหลอกด้านทิศใต้ ประตูหลอกทางด้านทิศตะวันตก สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปรอบๆปกคลุมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ร่มรื่นเย็นสบายถัดออกไปเป็นท้องทุ่งนาเขียวขจี ปราสาทหินแห่งนี้สภาพโดยรวมแล้วเป็นปรางค์หลังเดียวอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมากๆตัวปรางค์ ด้านหน้าตัวปรางค์ประธาน จากการสังเกตเห็นเข้าใจว่าสร้างอยู่บนเนินล้อมรอบด้วยคูน้ำปัจจุบันพอเห็นเป็นคูมีน้ำขังให้เห็นอย่างชัดเจนทางด้านทิศเหนือ ซากศิลาเเลงและคูน้ำรอบปรางค์ที่ทิศเหนือที่เหลือให้เห็น เข้าใจว่าทางเข้าในสมัยโบราณน่าจะตรงมาทางทิศตะวันออกซึ่งบริเวณทางเข้าทางซ้ายและขวามือมีก้อนศิลาแลงกระจัดกระจายน่าจะเป็นชิ้นส่วนอาคารหรือฐานอะไรสักอย่าง ส่วนตัวปรางค์สร้างด้วยศิลาทรายสีเทาทั้งหลัง รายละเอียดลวดที่จำลักลงบนก้อนศิลาทรายสีเทานั้นสวยงดงามและมีความประณีตยิ่งอันน่าจะเป็นฝีมือช่างหลวงในสมัยนั้นไม่ว่าจะเป็น เเท่นวางรูปเคารพ
ทับหลังที่วางอยู่ด้านหน้าปราสาท หลังที่วางอยุ่ทางด้านทิศเหนือ ทับหลังวางอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ฐานประดิษฐานรูปเคารพ ทับหลัง หน้าบัน เสากรอบประตู สวยงามอย่างมาก แต่น่าเสียดายปราสาท เสาประดับกรอบประตู หัวเสากรอบประตู ชิ้นส่วนเศียรนาคของหน้าบัน หินแห่งนี้กำลังตกอยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วงมากคือปรักหักพังชิ้นส่วนกระจัดกระจาย ปราสาทตาเล็งแห่งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นธรรมศาลาอันที่พักประกอบพิธีกรรมของนักแสวงบุญที่จะเดินทางจากเมืองพระนครสู่เขาพระวิหาร ซึ่งสร้างขึ้นตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ศิลปะแบบบาปวน หลังจากนั้นพอสมควรแก่เวลาเหลือเวลาอีกไม่มากผมได้มุ่งไปยังทิศตะวันออกที่มีทางเชื่อมสู่แหล่งน้ำขนาดใหญ่ปัจจุบันมีการขุดลอกซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นบารายขนาดใหญ่ขุดไว้เพื่อเก็บกักน้ำไว้ เส้นทางจากปราสาทสู่บารายขนาดใหญ่ทางทิศตะวันออก
ตัวบารายทางทิศตะวันออก ใช้ จากนั้นจึงเดินทางกลับที่พักในบ้านเกิดพร้อมด้วยภาพความประทับใจของโบราณสถานแห่งนี้มาใว้ให้ชม ปราสาทหินสองแห่งนี้ถือเป็นแหล่งอารยธรรมขอมสมัยโบราณที่มีความเจริญรุ่งเรืองแผ่เข้ามาสู่พื้นที่แถบนี้เป็นทั้งสถานที่เพื่อประกอบพิธีกรรมและให้การรักษาแก่ชุมชนและนักแสวงบุญที่เดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างเส้นทางจากเมืองพระนครสู่ปราสาทหินบนเทือกเขาพนมดงรักอันเป็นที่ตั้งของปราสาทเขาพระวิหารสถานที่จาริกบุญในสมัยโบราณ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ปราสาทวรภัทร | ||
![]() |
||
ปราสาทวรภัทรเป็นปราสาทอิฐจำลองสร้างเลียนแบบร่วมสมัยปราสาทแบบเขมรรุ่นเก่าสมัยเจนละผสมผสานศิลปะเขมรสมัยพระนคร ซึ่งสร้างทับสถานที่ที่เคยสร้างปราสาทจำลองที่ชื่อว่าปราสาทสนอลึงค์ที่พังทลายไปเมื่อปี 2550 แ |
||
View All ![]() |
เสียงจากชมพูทวีปสู่ดินเเดรสุวรรณภูมิ | ||
![]() |
||
การบรรเลง กระเเสมูย หรือ พิณน้ำเต้า ต้นตระกูล พิณเปี๊ยะล้านนา บรรเลงโดย "บรรณาลัย" ชื่อบทเพลง โยล (ไกว) |
||
View All ![]() |
<< | สิงหาคม 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |