ไหว้พระทอง ส่องพระลาว ห่างหายจากบล็อกมานานแสนนาน อยู่กรุงเทพฯพักใหญ่ และแล้วจากไปอยู่อีสานใต้บ้านเกิดสักประเดี๋ยว ไม่เท่าไหร่กลับมาอยู่กรุงเทพอีกครั้ง กลับไปกลับมา เป็นเช่นนี้เนืองๆ ชวนให้นึกถึง ประโยคคนขแมร์แถวบ้านว่า ซฺน็อกมูยปังกุยจะแก แปลเป็นไทยว่า สุขชั่วครู่หมานอน หลายเรื่องก่อนนี้มุ่งไปเรื่องราวเกี่ยวกับขแมร์เยอะ วันนี้ขอนำเรื่องใกล้ตัวปรากฎอยู่เบื้องหน้าที่สัมผัสได้แต่มองข้ามมานานแสนนานนอกจากผู้คน ชื่อวัด วัง บาง ที่เคยมีความเกี่ยวข้องกับคนลาวในยุคอดีต หนึ่งในสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนชาวลาวนิยมสร้างเช่นเดียวกับชาวไทยคือพระพุทธแทนพระพุทเจ้า ขณะอยู่เมืองหลวงเตร็ดเตร่เข้าออกวัดวาอารามย่านกรุงเทพบ่อยครั้ง ไม่นึกเลยว่าบางวัดมีพระพุทธรูปเก่าแก่ที่สำคัญอัญเชิญมาจากประเทศลาว สกุลช่างล้านช้าง เชียงแสน ประดิษฐานในพระอุโบสถ วิหารอยู่ จำนวนไม่น้อย ดั่งดวงจำปายังอบอวน ให้ตามหา เข้าไปกราบกราน จากถิ่นฐานมาจำอยู่แสนนานในเมืองกรุงเทพฯ หลวงพ่อทองคำ วัดหงษ์รัตนาราม หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร เหตุผลสำคัญครั้งนี้ที่เปลี่ยนเรื่องมาให้ความสนใจเรื่อง พระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากประเทศลาว สืบเนื่องมาจาก ญาติผู้ใหญ่ของเพื่อนเข้ามาเยี่ยมเพื่อนซึ่งเป็นหลานที่ทำงานในกรุงเทพฯ เป็นคนเชื้อสายลาวนานๆหนมีโอกาสเข้ามาเยี่ยมหลานสักครั้ง โอกาสนี้เพื่อนเลยชวนให้พาไปไหว้พระทำบุญเสริมศิริมงคลด้วยเคยตะลอนไหว้พระด้วยกันมาหลายครั้ง ครั้งนั้นเป็นเพียงครั้งแรก ที่ได้พาญาติของเพื่อนและไกด์ผีอย่างเรา เดินทางเลาะๆไหว้พระด้วยการเดินเท้า จนครบเก้าวัดโดยไม่เร่งรีบ ใช้เวลารับรู้ ชมและสัมผัสความงามของวัดที่ผ่านมาอย่างอิ่มเอมใจ การเดินทางของญาติเพื่อนมาเยี่ยมเพื่อนครั้งที่สองเพื่อนเลยชวนให้พาไปไหว้พระทำบุญอีกครั้ง ครั้งนี้เลยเปลี่ยนมุมจากฝั่งพระนครพามาสัมผัสบรรยากาศฝั่งธนบุรีบ้าง ระหว่างที่เดินสายไหว้พระ เปรยๆกับเพื่อนเสมอๆ ว่าไว้คราวหน้าหากญาติมากรุงเทพอีกจะพาไปไหว้พระทองส่องพระลาว ในกรุงเทพให้ครบทุกองค์สักครั้ง นานหนได้มีโอกาสมาเยียมหลานอย่างเพื่อน แล้วควรจะไปเยี่ยมสักการะพระบรรพบุรุษที่พลัดถิ่นมาอยู่กรุงเทพสักครั้ง หนึ่งในชีวิต แม้ว่าครั้งนี้มีโอกาสได้สักการะเพียงสามองค์ หลังจากใช้เวลาค้นคว้าข้อมูลอยู่พักใหญ่ ในวันถัดมาเลยตัดสินใจออกเดินทางสำรวจตามหาพระทองส่องพระลาวที่ประดิษฐานในกรุงเทพ สักการะเสริมบุญให้กับตัวเองสักครั้ง โดยเริ่มตั้งหลักไหว้พระทองคำ หรือหลวงพ่อทองคำ(พระพุทธปฎิมากร) วัดไตรมิตร เป็นองค์แรก เป็นที่รู้จักกันทั่วไปทั้งไทยและเทศ หลวงพ่อทองคำหรือพระพุทธปฎิมากร วัดไตรมิตร
จากนั้นจึงนั่งรถเมล์สาย๔๐ มุ่งหน้าไปยังวัดปทุมฯ เข้าไปไหว้พระพุทธรูปลาวศิลปะล้านช้าง วัดหลวงแห่งนี้นับได้ว่ามีพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากประเทศลาวที่สำคัญอยู่หลายองค์ องค์แรกที่ได้เข้าไปไหว้ในพระอุโบสถ คือพระสายน์หรือพระใส ตอนแรกเห็นชื่อก็เอะใจ ชื่อไปพ้องกับองค์พระใส องค์อยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย ไฉนเล่ามีพระสายน์มาอยู่ที่นี่ พอเดินออกมาเห็นประวัติบอกว่าในสมัยรัชกาลที่๔อัญเชิญมาจากถ้ำเมืองมหาไชย ประเทศลาว ซึ่งเป็นคนละองค์กับองค์ที่อยู่ที่หนองคาย หลวงพ่อพระสายน์หรือหลวงพ่อพระใส ในพระอุโบสถ วัดปทุมวนาราม ศิลปะสมัยล้านช้าง คนละองค์กับหลวงพ่อพระใสที่วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย อัญเชิญมาจากถ้ำแขวงเมืองมหาชัย ในประเทศลาว ขณะที่ไหว้พระสายน์เสร็จ นึกได้แล้วหลวงพ่อพระเสริมอยู่ที่ไหน ได้ยินประวัติมาว่าถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้นี่น่า จึงเดินเลียบโบสถ์ไปด้านหลังมีวิหาร เห็นป้ายบอกชื่อหลวงพ่อพระเสริม แต่โชคไม่ช่วยพระวิหารปิดสนิท พลาดไหว้และชมองค์จริง เอาล่ะยกมือไหว้ด้านนอกวิหารนี่และ ออกมาเจอประวัติพระเสริมที่ป้ายด้านนอกเลยถ่ายภาพจากป้ายมา สงสัยอีกครับ ในป้ายระบุว่า มีองค์พระแสนประดิษฐานด้านหน้าพระเสริม ทำให้งงไปกันใหญ่ แต่ก็เก็บความงงสงสัยกลับมาด้วย ประวัติเกี่ยวกับพระเสริม องค์นี้บอกไว้ว่า เดิมมีพระร่วมพี่น้องสามองค์ อีกสององค์คือ พระสุก ซึ่งว่ากันว่าจมน้ำหายเมื่อครั้งที่อัญเชิญข้ามลำน้ำโขงและหลวงพ่อพระใส อัญเชิญข้ามมาได้สององค์ ประดิษฐานในวัดหนึ่งที่หนองคาย ครั้งต่อมารัชกาลที่๔ของไทยให้อัญมาประดิษฐานที่วัดปทุมฯครั้งเมื่อสร้างโบสถ์เสร็จ โดยอัญเชิญทั้งองค์พระเสริม และพระใส แต่เกวียนที่อัญเชิญพระใสเพลาหัก เปลี่ยนเกวียนแล้ววัวที่เทียมลากก็ไม่ยอมเดิน จึงอัญเชิญพระใส ประดิษฐานไว้ที่เมืองหนองคายให้ชาวไทยลาวทั้งสองฝั่งโขงได้สักการะ ส่วนพระเสริมได้อัญเชิญลงประดิษฐานยังวัดปทุมฯได้ พระเสริม พระสุก พระใส เป็นพระพุทธรูปที่ ธิดาทั้งสามองค์ดังชื่อพระพุทธรูป ของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง สร้างขึ้นเพื่อเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์สมัยนั้น มีตำนานเล่าที่น่าสนใจ ใครที่สนใจลองหาประวัติอ่านต่อนะครับ หลวงพ่อพระเสริม ประดิษฐานในพระวิหารวัดปทุมวนาราม องค์ด้านหน้าเป็นหลวงพ่อพระแสน อัญมาจากถ้ำเมืองมหาชัย หลังจากไหว้พระทั้งสามองค์จากวัดปทุม เท่าที่เพ่งดูองค์พระ พุทธศิลป์ บ่งบอกความเป็นพุทธศิลป์สมัยล้านช้างอย่างเห็นได้ชัดแม้ว่ารายละเอียดบางองค์ผิดกันบ้าง แตกต่างจากพระพุทธศิลป์ศิลปะอื่นๆที่ได้พบเห็นมาจนเจนตา พระพุทธรูปทั้งสามองค์ ถือว่างดงาม แม้จะไม่ใหญ่โต ส่วนที่ว่าองค์พระหล่อจากวัสดุชนิดใดนั้นดูไม่ออกครับ แต่เท่าที่เห็นจากระยะไกลๆความเหลืองเปล่งปลั่ง เข้าใจว่าน่าจะเป็นทอง แต่จะเป็นทองชนิดใดก็ยากที่จะหยั่งรู้ ใครรู้ช่วยเล่าสู่กันฟังนะครับ ออกจากวัดปทุมพร้อมความสงสัย กับหลวงพ่อพระแสนว่าทำไมทำไมไปพ้องกับชื่อองค์พระแสนที่วัดหงษ์ฝั่งธน แถมยังอัญเชิญมาจากลาวเช่นกัน และถ้ำเมืองมหาไชยว่าอยู่ที่ไหนของลาวทุกวันนี้ นั่งรถเมลล์สาย ๔๘ รามคำแหง-วัดโพธิ์ มาลงตรงหน้าตลาดท่าเตียนข้างวัดโพธิ์ รีบนั่งเรือข้ามฟากไปยังวัดอรุณ และไม่พลาดเช่นกันเพราะรู้มาว่าที่วัดนี้ก็มีพระพุทธรูปสมัยล้านช้างที่อัญมาจากประเทศลาวเช่นกัน เข้าออกไหว้พระวัดนี้บ่อยครั้งรู้แต่ไม่สังเกต ว่ามีพระพุทธรูปสมัยล้านช้างประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ตอนแรกนึกว่าเป็นพระองค์ใหญ่ในวิหาร แต่เพ่งมององค์ท่านเท่าไหร่ก็ไม่เหมือนพระพุทธรูปแบบล้านช้างเลย จนเลือบไปเห็นพระพุทธรูปสีทององค์เล็กๆเบื้องหน้าเขียนบอกว่า หลวงพ่อแจ้ง เพ่งดูไปดูมาจึงถึงบางอ้อ ในใจบอกเป็นองค์นี้แหละ แถมชื่อยิ่งชวนให้แน่ใจว่าเป็นพระองค์ที่ตามสักการะ หลวงพ่อแจ้งหรือหลวงพ่ออรุณ วัดอรุณฯ พระพุทธรูปองค์นี้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว ในสมัยรัชกาลที่ ๓ องค์พระว่ากันว่าสร้างจากทองสำริด องค์พระและผ้าครองหล่อจากวัสดุสีต่างกัน แต่สังเกตุดีๆเปลวรัศมีไม่เห็นมี ทรวดทรงองค์พระ เพรียวงดงาม ตามแบบศิลปะล้านช้าง วัดแห่งนี้นับเป็นวัดที่เคยมีพระพุทธรูปสำคัญจากลาวมาประดิษฐาน ไม่จะเป็นพระบาง พระแก้วมรกต พระแซกคำ ใครแวะเวียนไปก็อย่าลืมไปไหว้เสริมศิริมงคลกับตัวเองนะครับ เดินดุ่มๆเลาะเลียบวัดอรุณมาพักใหญ่ได้สักการะพระสมัยล้านช้างอิ่มบุญ ไม่รอช้าเลือกเดินต่อเลียบถนนเข้าใต้สะพานข้างมัสยิดต้นสน ผ่านซอยหน้ามัสยิดมุ่งไปยังวัดหงษ์รัตนาราม ภายในพระอุโบสถ วัดหงษ์รัตนาราม วัดแห่งนี้แหละจะไขปริศนา ลดความสงสัยลงบ้าง จากเมื่อครั้งวัดปทุมเกี่ยวกับพระแสน แต่ถึงกระไรก็คิดว่าพระแสนทั้งสององค์ที่อัญเชิญมาจากประเทศลาว น่าจะเป็นคนละองค์กันเพราะเคยมาไหว้พระที่วัดแห่งนี้บ่อย เห็นพระแสนที่วัดหงษ์ก่อนหน้านี้แล้ว พอไปเห็นที่วัดปทุม เทียบเคียงลักษณะทำให้ พอประมาณได้ว่าน่าจะเป็นคนละองค์กัน พระแสนที่วัดหงษ์รัตนารามริมคลองบางหลวง ดูพุทธศิลป์แล้วเป็นศิลปะลาวสมัยล้านช้างที่งดงามไม่แพ้องค์ที่เห็นมา รัชกาลที่๔โปรดให้ข้าหลวง อัญเชิญมาจากเมืองเชียงแตง ปัจจุบันคือเมือง สตึงเตร็ง ในภาคเหนือของกัมพูชา เดิมเป็นส่วนหนึ่งในเมืองการปกครองของอาณาจักรล้านช้าง จำปาสัก ว่ากันว่าพระองค์นี้สร้างโดยพระครูโพนสะเม็ด หลวงพ่อแสน หรือ พระแสนแตง ประดิษฐานภายในอุโบสถ วัดหงษ์รัตนาราม องค์พระหล่อขึ้นด้วยวัสดุทอง สำริด รายละเอียดส่วนต่างๆขององค์พระสำคัญดูอลังการหรูหรากว่าพระลาวที่ไปเห็นมาสวยงามแปลกตา หลวงพ่อแสน องค์จำลอง และทราบประวัติมาว่าที่วัดแห่งนี้มีพระทอง ขนาดใหญ่ รองจากพระทอง วัดไตรมิตร อายุอันนาม เก่าแก่ร่วมสมัยสุโขทัยเช่นกัน ดูสวยงามยิ่งนัก หลวงพ่อทองคำ ประดิษฐานภายในพระวิหาร วัดหงษ์รัตนาราม ออกตระเวนเดินสายไหว้พระทองส่องพระลาวสายไปหน่อยจึงเย็นพอดีที่วัดหงษ์ ต้องเดินทางกลับที่พักเสียก่อน วันพรุ่งเดินสายใหม่อีกสองวัดที่เหลือ อยู่คนละบาง อากาศเย็นเช้านี้ไม่ร้อนเท่าไหร่นัก ใกล้บ้านหน่อย เริ่มที่วัดอัปสรสวรรค์ริมคลองด่าน แถวนี้วัดเยอะเลาะมาหลายวัดเช่นกัน แต่ขอไหว้พระลาวให้เสร็จสิ้นก่อน จะมานำเสนอ วัดอัปสรสวรรค์เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมชื่อวัดหมู มีการบูรณะใหม่สมัยรัชกาลที่ ๓ ที่นี่มีพระพุทธรูปเก่าแก่ศิลปะแบบจีน ในสมัยรัชกาลที่ ๓ อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์ เดิมพระดิษฐานในหอพระนาคพระบรมมหาราชวัง หลังจากนั้นได้พระราชทานให้เจ้าจอมน้อยซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแสดงละครในอิเหนาบทสุหรานากง โปรดปรานในรัชกาลที่๓ เจ้าจอมน้อยจึงได้ชื่อ สุหรานากง ต่อท้าย ในครั้งนั้นเจ้าจอมน้อย(สุหรานากง)ประสงค์จะบูรณะวัดหมูริมคลองด่านที่มีความเก่าแก่ทรุดโทรมและเป็นการอุทิศให้แก่บิดาคือพระยาพลเทพ(ฉิม) ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนัก ด้วยความที่เป็นคนโปรดปรานรัชกาลที่ ๓ จึงพระราชทานพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทร์ คือพระฉันสมอ ให้แก่เจ้าจอมน้อย มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ และพระราชทานทรัพย์ส่วนหนึ่งให้ จากนั้นจึงพระราชทานนามวัดนี้ใหม่ด้วยเป็น วัดอัปสรสวรรค์
หลวงพ่อฉันสมอ วัดอัปสรสวรรค์
พระฉันสมอ เป็นพระโหละปิดทอง โชคไม่ช่วยมาครั้งนี้ไม่ได้ไหว้องค์จริงพระอุโบสถปิดสนิทจึงถ่ายภาพที่ป้ายข้างโบสถ์มาให้ชม ถือเป็นองค์พระพุทธรูปที่แปลกแม้จะอัญเชิญมาจากประเทศลาวแต่พุทธศิลป์เป็นแบบจีน ที่วัดแห่งนี้มีสิ่งที่น่าสนใจให้ชมเยอะครับทั้งตึกเก่าริมคลองด่าน ปรางค์ โบสถ์วิหารสไตรัชกาลที่ ๓ และหอไตรประณีตสวยงามหรูหราสมัยอยุทธยา มีข่าวว่ากำลังบูรณะเร็วๆนี้ มีนัดครับ เลยไม่ซอกแซกชมวัดนี้นานเพราะผ่านมาไหว้พระทำบุญบ่อย เลยรีบเดินทางต่อมายังตลาดพลูข้ามสะพานมานั่งรถเมลล์สาย ๑๐๘ ตรงแยกท่าพระ นัดชวนเพื่อนชาวอีสานไปไหว้พระวัดคฤหบดี จรัญสนิทวงศ์ ๔๔ เดินจากปากซอยจนถึงวัดไกลเอางาน ไม่รู้ว่ามีทางลัดเข้าจากเชิงสะพานพระราม ๘ต้องเลาะผ่านชุมชนร่นเวลาได้เยอะ แต่ไม่เป็นไรได้บรรยากาศชมตึกร้านสองข้างตรอกซอกซอย ในที่สุดก็มาถึงวัดคฤหบดีริมลำน้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงกันข้ามเป็นท่าวาสุกรี ธนาคารแห่งประเทศไทยกับวัดเทวราชกุญชร เทวเวศน์ ไม่รีรอครับเรารีบเข้าไปยังพระอุโบสถ วัดสุดท้ายที่เราตั้งจิตแน่วแน่ว่าจะมาไหว้พระที่อัญเชิญมาจากประเทศลาวให้ครบ และที่นี่คือสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปที่มีนามว่า พระแซกคำ ว่ากันว่ามีประวัติเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวีแห่งหริภูญชัยโน่นล่ะ
หลวงพ่อแซกคำ หรือ หลวงพ่อแทรกคำ ภายในอุโบสถ วัดคฤหบดี
หลวงพ่อแซกคำ หล่อจากทองคำ ศิลปะเชียงแสน พระแซกคำ มีประวัติเก่าแก่ลองหาอ่านดูนะครับน่าสนใจทีเดียว เข้ามาไหว้องค์พระเห็นพุทธลักษณะแล้วประนีตงดงามจริงๆ สีเหลืองทองสุขสวยยิ่ง องค์พระอวบอิ่ม ผิดจากหลายๆองค์ที่เห็นมา บ้างว่าเป็นพระศิลปะเชียงแสนซึ่งเห็นด้วย ต่างจากพระศิลปะล้านช้างที่ได้เห็นมาอย่างชัดเจน มีเล่ากันอีกว่า เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐา แห่งอาณาจักรล้านช้าง ย้ายเมืองหลวงจากพระบางลงมาเวียงจันทร์ มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาด้วยจะต้องอัญเชิญพระแซกคำมาประดิษฐานเคียงคู่กันทุกครั้ง พระแซกคำ เป็นพระหล่อด้วยทองคำ พระยาบดินเดชาได้อัญเชิญลงมาครั้งไปทำศึกที่เวียงจันทร์ นำมาถวายรัชกาลที่๓ ต่อมาพระยาราชมนตรี(ภู่) ต้นสกุลภมรมนตรี ข้าราชบริพารเก่าแก่มาตั้งแต่ครั้งยังทรงกรมสร้างวัดคฤหบดีขึ้นน้อม ถวายเป็นราชอารามหลวง พระบาทพระนั่งเกล้าฯ จึงได้พระราชทานพระแซกคำไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถแห่งนี้ บางท่านเชื่อกันว่าพระที่อัญเชิญมาจากประเทศลาว ชอบข้าวเหนียว ปลาร้า ไข่ต้ม ลาบ ส้มตำ หมอลำ หากได้ไปไหว้ถวายภัตาหารนี้จะเป็นศิริมงคล แต่ดูเหมือนว่าจะเอาไปตั้งถวายพระพุทธในหรือนอกโบสถ์ดูไม่เหมาะกระมั้ง หรือจะเอาไปถวายพระสงฆ์แทนพระจะทานส้มตำปลาร้าได้ไหมหน๋อ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ปราสาทวรภัทร | ||
![]() |
||
ปราสาทวรภัทรเป็นปราสาทอิฐจำลองสร้างเลียนแบบร่วมสมัยปราสาทแบบเขมรรุ่นเก่าสมัยเจนละผสมผสานศิลปะเขมรสมัยพระนคร ซึ่งสร้างทับสถานที่ที่เคยสร้างปราสาทจำลองที่ชื่อว่าปราสาทสนอลึงค์ที่พังทลายไปเมื่อปี 2550 แ |
||
View All ![]() |
เสียงจากชมพูทวีปสู่ดินเเดรสุวรรณภูมิ | ||
![]() |
||
การบรรเลง กระเเสมูย หรือ พิณน้ำเต้า ต้นตระกูล พิณเปี๊ยะล้านนา บรรเลงโดย "บรรณาลัย" ชื่อบทเพลง โยล (ไกว) |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |